สิทธิมนุษยชน ไม่ได้หมายถึงแค่เพศ แต่เป็นการเคารพในความต่าง Quote กระแทกใจจาก อาเท้อ – รังสิต ห่วงเกลี้ยง เจ้าของตำแหน่งรองอันดับสอง Mr. Gay World Thailand 2020 และเจ้าของตำแหน่ง Best Personality เมื่อเราถามถึงประเด็นที่ว่า “การเรียกร้องสิทธิมนุษยชนสำหรับคุณนั้น มีขอบเขตจำกัดอยู่ที่กลุ่ม LGBT หรือไม่?

สิทธิมนุษยชน ไม่ได้หมายถึงแค่เพศ แต่เป็นการเคารพในความต่าง 

แนะนำตัวเอง ให้ชาวโดดเด่นดอทคอม รู้จักคุณมากกว่าขึ้นหน่อยค่ะ
สวัสดีครับ อาเท้อ รังสิต ห่วงเกลี้ยง ครับ ปัจจุบันอายุ 30 ปี จบการศึกษาปริญาตรี คณะ ศิลปศาสตร์ เอก ภาษาอังกฤษจาก ม.รังสิต ปัจจุบันทำการตลาดออนไลน์ และเป็น freelance งานเอ็นเตอเทนหลายๆ ด้านครับ

สิทธิมนุษยชน

รู้สึกยังไงบ้าง หลังจากที่ได้รับตำแหน่ง รองอันดับ 2
และรางวัลบุคลิกภาพยอดเยี่ยม
บอกเลยว่าเซอไพรซ์มากครับ เพราะจิงฯไม่ได้หวังตำแหน่งอะไรตั้งแต่แรกเลยครับ เราเข้ามาประกวดเพราะเห็นว่าเวทีนี้เป็นเวทีที่ทำงานช่วยเหลือสังคม LGBTQ เลยอยากเข้ามาช่วยงานตรงนี้ครับ ก็ดีใจที่กรรมการให้โอกาสเราครับ

 

คุณคิดอย่างไร กับกฎหมายต่อต้านคนรักเพศเดียวกัน
และการโจมตีทางด้านคำพูด ต่อคนกลุ่มเพศทางเลือก?
พูดกันตรงๆ เลยคือการที่มันมีกฎหมายเหล่านี้อยู่ ส่วนนึงเป็นเพราะผู้นำประเทศไม่เข้ามาดูแลแบบจิงจังหรืออาจจะเฉยเมยเพราะทัศนคติเชิงลบต่างๆ และบางประเทศก็ยังมีเรื่องของศาสนาเข้ามาอ้าง สหประชาชาติได้กำหนดไว้อย่างเป็นสากลถึง สิทธิมนุษย์ชน พูดง่ายฯคือคนทุกคนเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศไหน แต่กฏหมายการต่อต้านคนรักเพศเดียวกัน ก็ยังเกิดขึ้นในหลายฯประเทศ มันค่อนข้างที่จะไม่ make sense เพราะมันขัดต่อสิทธิมนุษยชน คิดอย่างไรมันพูดออกมาแบบตรงฯยาก แต่หลายฯคนก็คงจะคิดเหมือนกัน ส่วนการโจมทีทางคำพูดดูถูกเหยียดหยาม Bully เป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ส่วนตัวอาเท้อก็เจอมาเยอะมาก เราอาจจะเปลี่ยนทัศนคติเค้าได้ด้วยการ Educate แต่เอาจิงๆ หลายๆ คน ก็ยากที่จะเปลี่ยนความคิดจิงๆ เราอย่าเก็บมาใส่ใจและใช้ชีวิตในแบบของเราให้มีความสุขที่สุดดีกว่า แคร์คนที่เค้าแคร์เรา ชีวิตจะไม่เหนื่อย

คุณคิดว่า การสนับสนุนสิทธิมนุษยชน และการเคารพตัวตนนั้น
ต้องเป็นแค่สำหรับกลุ่มเพศทางเลือกหรือไม่?
สิทธิมนุษยชน เป็นของทุกคนทุกเพศครับ สิทธิมนุษยชนไม่ได้หมายถึงแค่เพศเท่านั้น หมายถึง อาชีพ การศึกษา ความคิด การแสดงความเห็น ศาสนา เป็นต้น การเคารพในความต่าง(ที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน) เป็นสิทธิมนุษยชนครับ

 

คุณมีวิธีเปลี่ยนภาพจำ (Stereotype) ที่ผิดๆ ของสังคมไทย
ต่อคนกลุ่มเพศทางเลือกได้อย่างไรบ้าง?
เพศทางเลือกก็มีทุกกลุ่มเหมือนกลุ่ม เพศสภาพนะครับ บางกลุ่มก็ปาร์ตี้ บางกลุ่มก็ทำงานเพื่อสังคม การเปลี่ยนภาพจำก็แค่ช่วยกันเป็นตัวอย่างที่ดี เท่าที่ตัวเองจะทำได้ จนไม่ขาดความสุขของตัวเองไป และก็ไม่อยากให้ตัดสินใครแค่เพียงด้านเดียว การให้โอกาสเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดสิ่งดีดีขึ้นเสมอครับ

…………………………………………………………..

“สุดท้ายนี้ อาเท้ออยากให้ลองเปิดใจมองภาพกว้างๆ ครับ ทุกวันนี้ชาว LGBTQ ก็ทำประโยชน์มากมายต่อสังคม มันก็อยุ่ที่ใครไปโฟกัสตรงไหนด้วยแหละครับ ถ้าโฟกัสแต่เรื่องไม่ดี มันก็จะเห็นแต่สิ่งนั้นอะครับ คำพูดเดิมเลยครับ คนก็คือคนอย่าไปตัดสินใครเลยครับ ตราบใดที่เค้าไม่ได้ไปทำใครเดือนร้อน”

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

ขอบคุณรูปภาพจาก Ipeckza Gallery , Taninrat , Blued ,Rangsit Huangkliang

 

 

เรื่องน่าสนใจ