ที่มา: mhthailand

เพราะผลข้างเคียงของ “ยา” ล้วนส่งผลทั้งทางร่างกาย การใช้ชีวิต รวมถึง บางครั้งก็พาลไปถึงด้านจิตใจ ( ซึ่งหลายครั้งก็เกิดจากการคิดไปเองเท่านั้น ) สำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกาย ดูแลตัวเอง เข้าฟิตเนสก็เช่นกัน 

แต่เรื่องของยาก็เป็นสิ่งที่ควรเฝ้าระวัง ซึ่งจะมียาอะไรที่หนุ่มๆ ผู้หลงใหลการออกกำลังควรระมัดระวังบ้างนั้น มาดูกันเลย…

8-%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87

  1. ยาแก้ปวดพารา

ถือเป็นยาสามัญที่ถ้าใช้มากไปก็สาหัสได้เหมือนกัน เพราะหากใช้ “ปริมาณมากไป” ก็จะกลายเป็นยาพิษไปได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ร้ายของมันก็คือพุ่งเป้าไปทำลายตับโดยตรง (Hepatotoxicity) ซึ่งในช่วงแรกอาจจะไม่ทำให้ออกอาการ แต่เมื่อคุณตายใจพาราเซตามอลในระดับเป็นพิษจะทำให้เกิดอาการผิดปกติได้หลังจากนั้นเพียง 24-48 ชั่วโมงเท่านั้น

ดังนั้นขออย่าคิดว่าแค่ปวดก็หยิบพารามากินให้จบๆ ไป เพราะในสหรัฐฯ ยาตัวนี้ถูกรายงานว่าขึ้นแท่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ “ตับวายเฉียบพลัน” แซงหน้าวายร้ายอย่างไวรัสตับอักเสบไปแล้ว นอกจากนั้นพาราฯ ทำตับพังยังเป็นสาเหตุอันดับสองของคนที่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนตับอีกด้วย

8-%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87

  1. ยารักษาเชื้อรา

เป็นอีกชนิดที่ต้องดูให้ดีโดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อราชื่อ “คีโตโคนาโซล” ซึ่งจัดเป็นยาดีแต่ช่วงนี้ถูกกระหน่ำหนาหูด้วยข้อหาว่าเป็นฆาตกรทำร้ายตับเช่นกัน โดยยาคีโตโคนาโซลนี้ใช้รักษาเชื้อราที่พบในหนุ่มนักออกแรงอาบเหงื่อแลกความฟิตในกีฬาที่หลากหลาย

อย่างเชื้อราในร่มผ้า กลาก เกลื้อน หูอักเสบจากเชื้อรา และน้ำกัดเท้าในนักกีฬาที่ต้องย่ำน้ำบ่อยๆ ซึ่งยาที่ว่านี้มีผลทำให้ตับอักเสบรุนแรง (Fulminant Hepatitis) ที่เกิดขึ้นภายหลังหยุดยาไปแล้วราว 1-4 สัปดาห์ ในเรื่องนี้คนที่มีปัญหาตับอยู่แล้วหรือดื่มแอลกอฮอล์ยิ่งต้องระวัง ขอแนะให้เลี่ยงเป็นยาอื่นแทน

8-%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87

  1. ยาลดไขมัน

คนยุคใหม่ที่ได้รับยาลดไขมันตั้งแต่ยังอายุน้อย ต้องคอยระวังอาการข้างเคียง โดยเฉพาะจากยาลดไขมันที่นิยมจ่ายกันคือกลุ่ม “สแตติน ( Statins )” ที่มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งกลไกของมันมีผลต่อ “ตับ” และ “กล้ามเนื้อ” โดยตรง

ใครที่กินยานี้อยู่อาจมีสัญญาณให้รู้สึกได้คือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือมีกล้ามเนื้อสลายได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีกับคนออกกำลังแน่ หนำซ้ำบางคนพาลอยากเลิกเล่นกีฬาไปเลยเพราะคิดว่าเป็นเพราะความแก่ เรื่องนี้ถ้าพูดให้แฟร์คือต้องชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงกับประโยชน์ที่ได้ เรื่องผลร้ายต่อตับที่ทำให้เอนไซม์สูงขึ้นเวลาเจาะเลือดก็ยังถือว่าพบได้น้อยอยู่ดี

Woman with a flu taking pill

  1. ยานอนหลับ

เป็นยาที่ส่งผลโดยตรงต่อการเวิร์กเอาต์ เรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจนอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะยานอนหลับส่งผลต่อ “สมอง” ของเราซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ในการคุมเรื่องออกแรงและกล้ามเนื้อ จึงไม่น่าแปลกใจที่ยาช่วยนอนจะกลายเป็น “สายแรง” ต่อการออกกำลังจนทำให้หมดเรี่ยวหมดแรงไปได้

ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นกับสองปัจจัยคือ “เวลาเริ่มกินยา” กับ “เวลาของการนอน” จึงควรเริ่มกินยาให้เหมาะและต้องแน่ใจว่าจะมีเวลานอนพอ เพราะถ้ามีเวลานอนแค่ 6 ชั่วโมงแล้วต้องตื่นหลังกินยาก็จะ “มึน” แน่ๆ สำหรับการออกกำลังกายควรต้องเป็นหลังจากฤทธิ์ยาผ่านไปจนเป็นปกติ

8-%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87

  1. ยาแก้หวัด

ถือเป็นยาพื้นฐานแต่มี “ปัญหา” อยู่เป็นระยะ ทั้งนี้มียาที่ต้องจับตาว่ามีผลต่อการออกกำลังอยู่ 3 กลุ่ม คือยาแก้ไอ ยาแก้แพ้หรือ ยาต้านฮิสตามีนที่ง่วง และยาแก้หวัดอย่างซูโดเอฟีดรีนที่มีผลทำให้มึนๆ ลอยๆ ไม่ว่องไวเหมือนปกติ

ซึ่งเรื่องนี้ศาสตราจารย์คลินิกแห่งศูนย์การแพทย์ดาวน์สเตทในนิวยอร์ก กล่าวไว้ได้ดีว่า “ยาแก้หวัดที่ซื้อได้ตามร้านนั้นมีส่วนทำให้ง่วงซึมได้” หนำซ้ำในคนที่กินยาลดคัดแน่นจมูก (Decongestant) ยังอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วและความดันขึ้น ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อหัวใจกับสโตรคในเวลาที่ออกกำลังกายอีกด้วย

8-%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87

  1. ยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้ออื่นๆ

นอกเหนือจากยาพาราเซตามอล หรืออะเซตามิโนเฟนที่มีผลลบต่อตับได้แล้ว ยาแก้ปวดชนิดอื่นๆ ก็อาจส่งผลไม่พึงประสงค์ที่ไม่คาดคิดได้ กล่าวคือทำให้ “กลบอาการบาดเจ็บ” จากการออกกำลังกาย

โดยเฉพาะยาแก้ปวดอักเสบที่ค่อนข้างแรงจะทำให้ไม่รู้ตัวว่าบาดเจ็บมากจนจำเป็นต้อง “พัก” แล้ว การฝืนเล่นต่อไปเพราะฤทธิ์ยาไปบดบัง (Symptom Masking) อาจทำให้ “พลาด” การวินิจฉัยแบบทันท่วงทีของอาการหมอนรองกระดูกบาดเจ็บหรือข้อแพลงอย่างรุนแรงไป

8-%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87

  1. ยาสเตียรอยด์

อย่าเพิ่งนึกถึงมนุษย์กล้ามปูเสมอไปเพราะยานี้ถูกใช้อย่าง “กว้างขวาง” ในปัจจุบัน แถมบางอย่างก็เกินคาดด้วย เช่น คนไข้ป่วยด้วยโรคหน้าเบี้ยวเพราะเส้นประสาท (Bell’s Palsy) ก็ถูกจ่ายยาเพรดนิโซโลนซึ่งเป็นสเตียรอยด์โดยกินวันละครึ่งโหล

หรือคนที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างสะเก็ดเงิน รูมาตอยด์ หรือโรคไตรั่วเนโฟรติก ก็ต้องรับยาสเตียรอยด์เป็นระยะเช่นกัน ดังนั้นผลของมันจึงมีได้กว้างขวางมาก ในแง่ของนักออกกำลังกาย ที่ใช้สเตียรอยด์นั้นเป็น “อนาโบลิก” ที่มีผลกับกล้ามและฮอร์โมนเพศชายด้วย

ส่วนสเตียรอยด์ที่ใช้รักษานานๆ ก็มีผลให้กระดูกบางลงเร็วเหมือนเข้าสู่วัยทองล่วงหน้า โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพกที่ต้องระวัง ด้วยว่าเคยเจอคนไข้ยังหนุ่มแน่นทว่าหัวกระดูกทั้งก้อนนั้นตายไปเสียแล้ว (Avascular Necrosis) เลยทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนไปตั้งแต่อายุยังน้อย

8-%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87

  1. ยาขับปัสสาวะ

หรือที่เรียกเล่นๆ ว่า “ยาขับน้ำ (Water Pill)” ถูกใช้ในหลายคนและหลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ยานี้ทำให้เสียน้ำและความดันต่ำลงได้โดยเฉพาะในกรณีนักออกกำลังที่พยายามรีดน้ำหนักด้วยการคุมอาหาร ยิ่งถ้ากินน้อยอยู่ต้องระวังเพราะอาจทำให้ “วูบ” ได้ง่ายๆ

ส่วน ยาขับปัสสาวะบางชนิด ( Loop Diuretic ) จะดึงแร่ธาตุที่จำเป็นต่อกล้ามเนื้ออย่าง “โพแทสเซียม” หลุดลอยไปกับสายน้ำ ( ปัสสาวะ ) จึงอาจทำให้เกิดผลต่อการเต้นของหัวใจ และการออกแรงกล้ามเนื้อได้ครับ ดังนั้นใครที่ใช้ยาขับปัสสาวะชนิดนี้ควรหมั่นวัดความดันและกินกล้วยหอมเอาไว้เพิ่มโพแทสเซียมกัน

8-%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87

ทั้งนี้ สำหรับยาทั้ง 8 อย่างที่ยกมานี้ ล้วนเป็นยาที่ส่งผล “กระทบ” ต่อสมรรถภาพในยิม ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ต้องท่องไว้ในใจก่อนเสมอก็คืออย่าเพิ่งตกใจจนหยุดยาเอง

ทว่าต้อง “ชั่งน้ำหนัก” ความเสี่ยงกับคุณค่าที่ได้ว่าอย่างไหน “คุ้ม” กว่ากัน ดังอีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของยาที่มีผลต่อการออกกำลังกาย คือ “ยาเคมีบำบัด” ที่มีผลข้างเคียงอย่างอ่อนเพลียและคลื่นไส้อาเจียน แต่ก็ไม่ควรหยุด ซ้ำยังควรต้องเวิร์กเอาต์ต่อไปอย่างไม่ย่อท้อด้วย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยบรรเทาอาการที่ว่าได้ อีกทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิร่างกายให้แกร่งรับการรักษาต่อไป ฉะนั้น… ใช้ยาอย่างเข้าใจจะดีที่สุดครับ

เครดิตภาพ และ ข้อมูล นพ.กฤษดา ศิรามพุช , Men’sHealth Thailand

เรื่องน่าสนใจ