หลักการบริโภคอาหารสำหรับ “สตรีวัยทอง”

17535788_s

เมื่อสตรีย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือสตรีวัยทอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 50-51 ปี ในระยะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ไปในทางเสื่อม หรือเกิดโรคต่างๆ รวมทั้ง ความผิดปกติทางจิตใจนานาประการ ทั้งนี้เป็นเพราะรังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิง และไข่ ดังนั้น จึงไม่มีประจำเดือนมา และไม่สามารถมีบุตรได้ สตรีบางคนอาจจะมีโรค หรือพยาธิสภาพของมดลูก และรังไข่ จำเป็นต้องรักษาโรค โดยการผ่าตัดออก จึงไม่มีประจำเดือน และเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ก่อนเวลาที่ควรเกิดขึ้นตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม สตรีบางคนที่มีอายุย่างเข้าสู่ 40 ปีไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นระยะก่อน หรือใกล้หมดประจำเดือน อาจจะมีการเสื่อมหน้าที่ของรังไข่ลงไปบ้าง ซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ โดยมีความผิดปกติเกิดขึ้น อาการจะรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ตามอายุที่เริ่มเข้าสู่วัยทอง

 

หลักการบริโภคอาหาร สำหรับสตรีวัยทอง

 1.  กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวัน และให้หลากหลายชนิด ไม่ซ้ำซาก เนื่องจากในอาหารแต่ละชนิด มีปริมาณสารอาหารไม่เท่ากัน หากกินอาหารชนิดเดียว เป็นเวลานานๆ จะทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารที่มีน้อย ในอาหารชนิดนั้นๆ ได้

2.  ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน หรือมีไขมันในเลือดสูงกว่า 220 มก. ต่อเดซิลิตร จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภค เพื่อลดโคเลสเตอรอลในเลือด ดังนี้

  •  ลดความถึ่ของการบริโภคเนื้อหมู เนื้อวัว งดบริโภคหนังเป็ด หนังไก่
  • งดเว้นการใช้น้ำมันจากสัตว์ และกะทิในการประกอบอาหาร โดยใช้น้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
  • ลดการบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง และควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร ให้ต่ำกว่าวันละ 300มิลลิกรัม
  • กินปลาทะเลเพิ่มขึ้น เนื่องจากไขมันในปลาทะเลจะมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง
  • กินอาหารทะเลที่มีใยอาหารสูง ซึ่งจะให้ประโยชน์ในการดูดซับสารอาหารไขมัน และน้ำดีไว้ในลำไส้ ทำให้ได้รับอาหารไขมันลดลง

 3.  ควรกินอาหารประเภทที่ให้สารโปรตีน ที่มีกรดอมิโนอาร์จินีน เพื่อกระตุ้นให้มีการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ และใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เช่น ถั่วเหลือง งาข้าว งาดำ กุ้งแห้ง ปลาป่น ปลาทะเล ถั่วแดง ถั่วเขียว ไข่ นม เป็นต้น

4.  กินอาหารประเภทผักผลไม้ และข้าวกล้อง เพื่อให้ได้ใยอาหาร ช่วยดูดซับสารอาหารไขมัน และน้ำดีไว้ในลำไส้ ทำให้ได้รับสารอาหารไขมันลดลง

5.  กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เพื่อรักษาระดับแคลเซียมของร่างกาย ป้องกันโรคกระดูกพรุน

6. กินอาหารจำพวกพืช ที่ให้ไฟโตรเอสโตรเจน พืชบางชนิดจะมีฮอร์โมนที่เรียกว่า โฟโตเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้สามารถใช้แทนฮอรโมนเอสโตรเจน ที่ได้จากการสังเคราะห์ แม้ว่าความสามารถอาจไม่ดีเท่า โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งมดลูก สารไฟโตเอสโตรเจนจะมีในถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วดำ งา ฟักทอง กระหล่ำปลี บล็อกเคอรี แครอท ข้าวโพด มะละกอ มันฝรั่ง ข้าวกล้อง เป็นต้น

 

Credit : www.oknation.net

เรื่องน่าสนใจ