ที่มา:
FB : ก่องเพชร รักชาติ
เรื่องทรัพย์สินหาย หรือถูกโจรกรรมนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร ซึ่งเคยมีคดีตัวอย่างที่เกิดเหตุรถของลูกค้าหายในห้างสรรพสินค้า เดิมที่ศาลฎีกาเคยพิพากษาว่า กรณีที่ห้างให้นำรถมาจอดแล้วแลกบัตรผ่าน ห้างต้องรับผิดต่อกรณีรถหาย เพราะมีการแลกบัตรจึงต้องมีการตรวจสอบการเข้าออกของรถอย่างดี ในคดีนั้นห้างโยนความผิดให้ รปภ. ว่า รปภ.ประมาทเลินเล่อเอง ห้างไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ศาลฎีกาไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่า ห้าง เป็นผู้ว่าจ้าง รปภ ดังนั้น รปภ เปรียบเสมือนตัวแทนของห้าง เมื่อความเสียหายเกิดจากตัวแทนตัวการต้องรับผิดอย่างเลี่ยงไม่ได้
หลังจากแพ้คดีนั้น ห้างสรรพสินค้าบางแห่ง ก็เลิกแจกบัตรผ่าน แล้วมาใช้กล้อง วีดีโอตรวจแทน ไม่ให้ รปภ แจกบัตรผ่านอีกต่อไป ซึ่งห้างฯ เชื่อว่าต่อไปนี้รถหาย ตนไม่ต้องรับผิดชอบ
คดีนี้ รถหายในห้างฯ จึงไม่ได้แจกบัตรผ่าน ห้างฯปฎิเสธความรับผิด อ้างว่า ห้างฯ ไม่ต้องรับผิดเพราะ ห้างฯ ไม่ได้รับฝากรับดูแล และไม่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบ ขอให้ยกฟ้อง
คดีนี้สู้กันมาถึงศาลฏีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
“ห้างฯ ต้องให้ความสำคัญ กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ความปลอดภัย ความสะดวกสะบาย กับทั้ง พรบ.ควบคุมอาคาร ก็ยังบังคับให้ห้างฯ ต้องมีพื่นที่จอดรถ ภายในอาคารเพื่อความสะดวกแก่การจราจร ทั้งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าต่อชีวิต และทรัพย์สิน และมีหน้าที่ต้องดูแลตามสมควร มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าต้องระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง”
อีกทั้งก่อนนั้น มีการแจกบัตรเข้าออก เพื่อตรวจตราและความเข้มงวด แต่ห้างฯกับยกเลิกการรับบัตรอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงซึ่งห้างรู้ดี ดังนั้นห้างฯ จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินใหมทดแทนต่อลูกค้า จากทนายนครปฐม (คำพิพากษาฎีกาที่ 7471/2556)