ที่มา: Voice TV

ในปัจจุบันคนหันมานิยมกินอาหารคลีนกันมากขึ้น โดยเฉพาะหมู่สังคมคนทำงาน ดารา และคนในแวดวงไฮไซ และดูท่าว่าจะติดเทรนด์คนรุ่นใหม่ที่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงนั่นก็คือบางรายเกิดสภาวะความเข้มงวดในการกิน โดยเฉพาะการคลั่งกินคลีน ที่บางคนคิดว่าอาหารที่ตัวเองกินจะต้องมีความสะอาดเท่านั้น จนอาการดังกล่าวกลายเป็นภาวะที่เรียกว่า “โรคคลั่งกินคลีน”  โดยได้มีการสอบถามกับแพทย์ที่มีความรู้ด้านนี้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตได้มาไขปัญหา และพิษภัยของโรคดังกล่าวว่าโรคนี้เกิดจากอะไร และมีพิษภัยกับผู้ที่เป็นโรคชนิดดังกล่าวหรือไม่ 

แพทญ์หญิงนฤมล จินพัฒนากิจ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลศรีธัญญา เปิดเผยว่า โรคนี้เรียกว่าโรค “Orthorexia nervosa” ซึ่งถ้าถามว่า กินคลีนแค่ไหนถึงจะเป็นภาวะคลั่งกินคลีน หมอตอบว่า พฤติกรรมกินคลีน หรือการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ยังไม่ได้ถือว่าเป็นโรคตามเกณฑ์ของ DSM-5 (เกณฑ์การวินิจฉัยโรคตามหลักสากลของจิตแพทย์ทั่วโลก) แต่จะเรียกว่าภาวะ Orthorexia nervosa  ซึ่งคำนี้ถูกบัญญัติขึ้น โดยนายแพทย์ชาวแคนาดาชื่อ Steven Bratman ในปี 1996 ภาวะนี้พิจารณาจากเกณฑ์ A และเกณฑ์ B ดังนี้

57

เกณฑ์ A ความย้ำคิด เน้นที่การกินอาหารเพื่อสุขภาพ ที่อธิบายได้จากทฤษฎีอาหารหรือกลุ่มของความเชื่อ ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่จะเด่นชัดที่ปัญหาด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมากในการเลือกอาหารที่มองว่าไม่ดีต่อสุขภาพ จนกระทั่งทำให้เกิดน้ำหนักลดลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม การมีสุขภาพดีในอุดมคติก็ยังคงเป็นเป้าหมายเบื้องต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

1. พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำเกี่ยวกับการเข้มงวดกับการรับประทานอาหาร ซึ่งหมายรวมถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ด้วยนั้น ถูกเชื่อว่าจะทำให้มีสุขภาพที่ดี 
2. ถ้าทำไม่ได้ตามกฎของการรับประทานอาหารที่วางเอาไว้ จะกลัวเป็นโรค รู้สึกว่าตัวเองแปดเปื้อน หรือรู้สึกต่อร่างกายในทางลบ อันเนื่องมาจากความกังวลและรู้สึกละอาย 
3. การจำกัดอาหารเป็นเวลานาน อาจทำให้ลดจำนวนกลุ่มของอาหารลง และทำให้เกิดการล้างพิษบ่อยมากขึ้นเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์และลดสารพิษ การเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนี้ มักทำให้น้ำหนักลดลง โดยที่ไม่ได้ต้องการลดน้ำหนัก หรือความคิดอยากลดน้ำหนักอาจถูกซ่อนอยู่ใต้ความคิดเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ

แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า สำหรับ เกณฑ์ B พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำก่อให้เกิดความเสียหาย ดังต่อไปนี้

1. ภาวะทุโภชนาการ น้ำหนักลดลงอย่างรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมจากการจำกัดอาหาร
2. มีความตึงเครียดหรือเสียหน้าที่ทางสังคม การเรียน อาชีพ ที่เป็นผลมาจากความเชื่อหรือพฤติหรรมเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ
3. การมองร่างกายในแง่บวก ความมีคุณค่าในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเอง และความพึงพอใจ ขึ้นกับพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพมากเกินไป

ส่วนถ้าเป็นภาวะนี้จะเป็นอันตรายหรือไม่นั้น แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า เป็นอันตราย ถ้าเป็นถึงขั้นที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง เกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตไม่มีความสุข อย่างไรก็ตามภาวะนี้จัดอยู่ในข่ายโรคจิตเวช หรือไม่ยังไม่ได้ถือว่าเป็นโรคตามเกณฑ์ของ DSM-5 (เกณฑ์การวินิจฉัยโรคตามหลักสากลของจิตแพทย์ทั่วโลก)

เมื่อถามว่า ภาวะนี้มีความเหมือนหรือต่างกับโรค Anorexia nervosa หรือไม่ แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า ภาวะ Orthorexia nervosa ต่างจากโรค Anorexia nervosa ตรงที่โรค Anorexia nervosaจะหมกมุ่นเกี่ยวกับความผอม ส่วนภาวะ Orthorexia nervosa จะหมกมุ่นเกี่ยวกับการกินเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่าสนใจ