ที่มา: dodeden

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าได้ให้กองสุขศึกษา ดำเนินการเผยแพร่ให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพ ป้องกันการป่วยเป็นโรคเรื้อรังในช่วงวัยสูงอายุ ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2557 ไทยมีผู้สูงอายุ 10 ล้านกว่าคนหรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรที่มีทั้งหมด 65 ล้านกว่าคน

10931180_827362247312319_5257747630031663370_n

เรื่องที่น่ากังวลก็คือมีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 3.3 หรือประมาณ 3 แสนกว่าคนเท่านั้นที่บอกว่าสุขภาพตัวเองยังดีมาก ขณะเดียวกันมีผู้สูงอายุอีกร้อยละ 16 หรือ 1 ล้าน 6 แสนกว่าคนที่บอกว่าสุขภาพตัวเองอยู่ในขั้นไม่ดีถึงไม่ดีมากๆ

ซึ่งผลสำรวจของกรมอนามัยล่าสุดในปี 2556 พบปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุป่วยมากที่สุด อันดับ 1.โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41 อันดับ 2. เบาหวานร้อยละ18 โดยมีผู้ที่เป็นทั้ง 2 โรคร้อยละ 13  อันดับ3.โรคเข่าเสื่อมร้อยละ 9

11071619_827362047312339_4957579826182038195_n

“การป่วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่าเป็นผลมาจากการละเลยดูแลสุขภาพตั้งแต่อยู่ในวัยกำลังดี หรือ วัยทำงาน หรือ วัยแรงงานคืออายุ 15-59 ปี ปัญหาจึงสะสมมาเรื่อยๆ จนมาปรากฏชัดเจนเมื่ออายุมากขึ้น

ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ช่วงวัยทำงาน หรือ วัยแรงงาน สร้างพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ไม่ใช้ชีวิตตามใจตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมตนเองในการเข้าสู่การสูงวัย ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างไม่ห่อเหี่ยว หากปฏิบัติจนติดเป็นนิสัยได้จะดีมาก และการมีพฤติกรรมสุขภาพดี จะสามารถช่วยชะลอวัย ใบหน้าอ่อนกว่าวัย” นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง กล่าว

11071673_827362323978978_1836528725448319709_n

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง กล่าวต่อว่า  ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวของวัยที่ยังอายุไม่มาก วัยรุ่น วัยแรงงาน มี 10 ข้อดังนี้ 1.รักษาความสะอาดร่างกาย ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะให้สะอาด สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 

2.แปรงฟันให้สะอาดอย่างทั่วถึงทุกซี่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน แปรงลิ้นทุกครั้งหลังการแปรงฟัน เพื่อกำจัดคราบอาหารตกค้าง พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน

3.กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ รับประทานอาหารหลังปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางตักอาหารกรณีกินร่วมกับคนอื่น ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนปรุงและกินอาหารหรือหลังเข้าห้องน้ำห้องส้วม หลังหยิบจับสิ่งสกปรก จับต้องสัตว์ทุกชนิด ก่อนและหลังสัมผัสกับคนป่วย และหลังจากทำกิจกรรมหรือกลับจากนอกบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสารปนเปื้อนติดมากับมือเข้าสู่ร่างกาย

4.เซลล์สมอง ควรกินอาหารเช้าระหว่าง 07.00-09.00 น. เลือกกินอาหารที่มีเส้นใยให้กากอาหารมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักผลไม้สด เป็นต้น จะช่วยป้องกันท้องผูก ป้องกันริดสีดวงทวาร ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย

5.ไม่สำส่อนทางเพศ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด เพื่อลดความเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น 6.จัดเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอยู่เสมอ เพื่อความสนุกสนานและมีความสุข 7.ป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท 8.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที

เช่น เดิน วิ่ง หรือเล่นกีฬาต่างๆ ที่ถนัด เพื่อช่วยให้สุขภาพแข็งแรง นอนหลับสนิท ไม่เครียด ทำให้ผิวพรรณดี หน้าตาแจ่มใส ช่วยชะลอวัยได้อย่างดี และตรวจสุขภาพทุกปีตามสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสุขภาพ เพื่อหาโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่โรคยังไม่ปรากฏอาการให้เห็น

9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ยึดหลักความเรียบง่ายให้มากขึ้น สนุกสนานกับงานอดิเรก เช่น ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง อ่านหนังสือและ10.รักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ทิ้งขยะในภาชนะรองรับและกำจัดขยะทุกวันอย่างถูกวิธี ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หากเป็นหวัด ไอ จาม ให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น 

10149828_1440554249525043_8427581289965910925_n

เรื่องน่าสนใจ