โรคข้อสะโพกเสื่อม ภัยร้ายของวัยกลางคนที่รักการสังสรรค์ ซึ่งในปัจจุบัน มีจำนวนผู้ป่วยโรคข้อสะโพกมากขึ้น จากการที่คนเรามีอายุยืนขึ้นนั้นเอง โดยสถิติของโรคข้อเสื่อมข้ออักเสบในประเทศไทยนั้น มีอุบัติการณ์ของการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมปีละกว่า 25,000 ราย

 

โรคข้อสะโพกเสื่อม
ภาพจาก mdr.de

 

โรคข้อสะโพกเสื่อม ภัยร้ายของวัยกลางคนที่รักการสังสรรค์

สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อม
ที่คนไทยเป็นกันมากคือ โรคข้อสะโพกตายจากการขาดเลือด โดยโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้นทําให้ กระดูกผิวข้อสึกกร่อน โรครูมาตอยด์ แต่สําหรับวัยกลางคนพบว่า มีปัญหากระดูกสะโพกเสื่อมได้เช่นกัน สาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือทานยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ปริมาณมาก ส่งผลให้เลือดหนืด ไหลเวียนไม่ดี จึงทําให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวกระดูกสะโพก ซึ่งยื่นขึ้นไปด้านบนได้ เป็นสาเหตุทําให้หัวกระดูกสะโพกตาย รวมถึงการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมาก่อน หรือกระดูกสะโพกหัก เป็นต้น

 

โรคข้อสะโพกเสื่อม
ภาพจาก orthobullets.com

 

อาการของโรค
จะปวดสะโพกเรื้อรัง ทั้งในขณะขยับตัว และนอนหลับ รู้สึกตึงเมื่อเวลาลุกนั่ง เจ็บเวลาเดินลงน้ำหนักขึ้นลงบันไดไม่สะดวก โดยแนวทางการรักษาในแต่ละระยะของอาการไม่เหมือนกัน เริ่มตั้งแต่ให้ยา กายภาพ จนถึงการผ่าตัด โดยการผ่าตัดแบบเดิมนั้น จะทําการผ่าตัดโดยเข้าทางด้านหลังสะโพก (posterior approach) หรือเข้าทางด้านข้างสะโพก (lateral arcreach) ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเทคนิคการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว และลดอัตราการเกิดข้อสะโพกหลุดหลังผ่าตัด โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (direct anterior approach total hip replacement)

 

โรคข้อสะโพกเสื่อม
ภาพจาก orthobullets.com

 

เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ เป็นการผ่าตัดโดยจะผ่าตัดเข้าจากด้านหน้าข้อสะโพก (drectanterorapproach) เข้าระหว่างกล้ามเนื้อ Termfascia ata และ Sartorius ซึ่งจะไม่มีการตัดกล้ามเนื้อโดๆ ขณะผ่าตัด และรูปแบบการผ่าตัดนั้น ผู้ป่วยจะนอนหงายขณะผ่าตัด ทําให้กายวิภาคไม่ผิดท่ามากนัก การใส่ข้อสะโพกเทียมทําได้ตรงจุด และสามารถประเมินความยาวของขาได้แม่นยำขึ้นมากกว่าการผ่าตัดแบบเดิม ที่ต้องนอนตะแคงข้างและมีการบิดขา

………………………………………………………………………………..

หลังผ่าตัด สามารถเดินเองได้ภายใน 1 วันหลังผ่า และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ทํางาน และเล่นกีฬาใด้เร็วขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังมีการฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัด ด้วยเครื่องหัดเดินในสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งช่วยให้ฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลถึงความเจ็บปวด เนื่องจากไม่มีการลงน้ำหนักที่ข้อ

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ