เนื้อหาโดย โดดเด่นดอทคอม

เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวัน ไหนจะต้องทำงาน เจอกับสภาวะแข่งขันต่างๆมากมายทำให้เกิดสภาวะเครียดขึ้น แต่อีกโรคหนึ่งที่เราเป็นมักไม่รู้ตัวคือ ภาวะวิตกกังวล (anxiety) ภาวะนี้มักถูกมองข้าม หรือวินิจฉัยเป็นโรคอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักแจ้งแพทย์แต่อาการทางกาย เช่น ปวดหัวหรือปวดท้อง ไม่คิดว่าเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลหรือปัญหาทางจิตใจ

Depositphotos_32007741_s

“ความกังวล” เป็นเรื่องธรรมชาติอย่างหนึ่งที่พบได้เป็นปกติ เพื่อให้เราเตรียมพร้อมในการเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ความเครียดต่างๆ ซึ่งแสดงออกทั้งในทางความคิดและความรู้สึกทางกาย ผลักดันให้คนเรารู้จักแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาสิ่งต่างๆ  แต่ถ้าความคิดวิตกกังวลนั้นมากเกิน ควบคุมไม่ได้หรือไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ ร่วมกับมีอาการเครียดมากเกินไป ก็จัดเป็นความผิดปกติทางจิตแบบหนึ่งที่ควรได้รับการดูแลรักษา

โรควิตกกังวลมักมีอาการเจ็บป่วยร่วมกับความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ โรคซึมเศร้า การศึกษาพบว่าโรควิตกกังวลนั้นมักปรากฏในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าบางชนิดปัจจัยที่ชักนำให้เกิดอาการ อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความเครียดต่างๆ ในชีวิต ซึ่งอาจเป็นเรื่อง งาน การสูญเสีย ปัญหาสุขภาพ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น หลายคนมีประวัติความวิตกกังวลตั้งแต่เด็ก มักพบว่ามีประสบการณ์ที่ไม่ดี เช่น การเลี้ยงดูที่จู้จี้เข้มงวด หรือเคยเกิดการพลัดพรากในวัยเด็ก

อาการของโรควิตกกังวล

  • ผู้ที่ป่วยโรคนี้มักประสบปัญหานอนไม่หลับ ข่มตาหลับยาก นอนหลับๆ ตื่น ๆ ตกใจง่าย หงุดหงิด ไม่สบายตัว ไม่มีสมาธิ ซึ่งอาการเหล่านี้รบกวนการดำเนินชีวิตหรือประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาบุคลิกภาพ มักมีบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ประหม่าง่าย ไม่มั่นใจตนเอง ตัดสินใจไม่ค่อยได้ บางรายมีอาการย้ำคิดย้ำทำ
  • อาการทางกาย ซึ่งเกิดจากการตอบสนองทางระบบประสาทอัตโนมัติมากเกิน ไป เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น หายใจเร็ว ปวดท้องเกร็ง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงขนาดทำให้เกิดภาวะมือจีบ (การเกร็งของนิ้วมือ) และหมดสติได้ อย่างไรก็ตามอาการทางกายมักเป็นแค่ชั่วคราว โดยเฉพาะเวลาที่มีตัวกระตุ้น

sick woman on bed massaging her head to relieve pain or stress

การป้องกันโรควิตกกังวล

  • รู้ทันความเครียดของตัวเอง หมั่นถามตัวเองหรือสอบถามคนรอบข้างว่า เราเครียดมากเกินไปหรือเปล่า หากเครียดเกินไป ให้ทำการปรับอารมณ์อย่างเหมาะสม เช่น หากิจกรรมที่ชอบทำเพื่อผ่อนคลาย, หาคนที่เราไว้ใจเพื่อระบายความรู้สึกหรือระบายปัญหาให้เขาฟัง
  • ออกกำลังกาย ระบายความเครียดปรับระบบต่างๆของร่างกายให้กลับสู่สมดุล ลดความคิดฟุ้งซ่าน วิธีนี้โดดเด่นดอทคอมขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งเพราะได้ทั้งสุขภาพจิตและได้สุขภาพร่างกายด้วย
  • ทำสมาธิ ฝึกตั้งสติจะได้รู้ทันความคิดตนเอง เมื่อรู้ทันก็ดึงใจกลับมาอยู่กับปัจจุบันได้  ปัจจุบันแม้ในต่างประเทศก็นำการนั่งสมาธิ (Mindfulness Meditation)มาใช้รักษาปัญหาสุขภาพจิต

หากเกิดสภาวะโรควิตกกังวลมากเกินไป ควรได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะภาวะวิตกกังวลเกิดจากโรคบางอย่างหรือสารบางอย่าง จึงควรได้รับการประเมินจากแพทย์ว่ามีโรคหรือสารที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิด อาการ เช่น ฮอร์โมนของต่อมต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ยาบางชนิด หรือสารคาเฟอีน ที่พบในกาแฟและเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นต้น

การใช้ยา ยาคลายกังวลหรือยาลดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ จะช่วยลดอาการวิตกกังวลได้ แต่ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์ก่อนใช้ เพื่อพิจารณาชนิดและขนาดที่เหมาะสม บางรายอาจต้องใช้ยากลุ่มต้านเศร้าหากแพทย์พิจารณาแล้วว่าต้องรับประทานยาใน ระยะนาน หรือมีอารมณ์เศร้าร่วม คนที่กังวลง่ายเมื่อต้องใช้ยา อาจยิ่งกังวล กลัวผลข้างเคียง กลัวติดยา ต่าง ๆ นานา จึงควรปรึกษากับแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา ถึงประเด็นเหล่านี้ให้ชัดเจนก่อน

การรักษาด้วยจิตบำบัดหรือรับคำปรึกษา การได้พูดคุยระบายความรู้สึกและปัญหาค้นหาสาเหตุความเครียด และเรียนรู้แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ยืดหยุ่นขึ้น ร่วมกับการได้รับความเห็นอกเห็นใจ กำลังใจ หรือปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม จะช่วยให้อาการดีขึ้น ผู้รักษาอาจช่วยสะท้อนให้เกิดความเข้าใจตนเอง เพื่อคิดและปฎิบัติต่อตนเองได้ดีขึ้น รัก มั่นใจ และนับถือในตนเองมากขึ้น

โดดเด่นก็เข้าใจว่า การที่จะทำให้เลิกเครียดได้นั้นค่อนข้างยาก แต่ถ้าตัวเราเริ่มรู้ตัวว่า เข้าสู่ภาวะเครียด ให้หยุดคิดเรื่องที่กำลังเครียดอยู่ และไปทำในสิ่งที่ตัวเราชอบ เช่น ทำอาหาร ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือ เป็นต้น การทำเรื่องแบบนี้ ก็อาจจะช่วยให้ความเครียดของเราลดลงได้

ข้อมูลจาก : wikipedia, หัวหมอดอทคอม, คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ

เรื่องน่าสนใจ