ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

“วันนี้ประชากรโลกทั้งหมด 5–8% ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ยิ่งคนอายุเกิน 65 ปี มีอัตราป่วยมากถึง 20% เฉพาะประเทศไทย ขณะนี้มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากถึง 260,000 คน และอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มอีกเท่าตัว”

NjpUs24nCQKx5e1D7RzAfQ7UbxxD9tTnzBfGGKA27vG

ดร.กฤติยา ทิสยากร นักวิจัยฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เผยถึงที่มาของการนำ “ผักปวยเล้ง” มาแก้ปัญหาโรคฮอตฮิตของคนสูงวัย

จากเดิมที่ไม่ได้สนใจปวยเล้งแต่อย่างใด…ด้วยการวิจัยที่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2553 ตั้งเป้าต้องการหาพืชที่สรรพคุณสามารถยับยั้งการลดน้อยถอยลงของสารสื่อประสาท (acetylcholinesterase) เทียบเท่ากับ donapezil (Aricept) ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ของสหรัฐฯ และในรายงานการวิจัยของต่างประเทศระบุว่า สารที่มีสรรพคุณดังว่าจะมีอยู่ในใบบัวบกและบร็อกโคลี่

NjpUs24nCQKx5e1D7RzAfQ7UbxxD9tSZnXewpCqNtcu

แต่เมื่อนำทดลองกลับพบว่า บัวบก และบร็อกโคลี่ ที่ปลูกในบ้านเรา มีสารดังกล่าวน้อยเกินไป แถมคุณภาพไม่คงที่ เอาแน่เอานอนไม่ได้ และผลผลิตของพืชทั้งสองชนิดไม่แพร่หลาย ปริมาณมีไม่มากพอที่จะนำมาผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้… จึงหันมองพืชที่มีการปลูกอย่างแพร่หลายและปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ซึ่งมีพืชอยู่ 2 ชนิดที่น่าสนใจ นั่นคือ แปะก๊วย และปวยเล้ง เนื่องจากมีรายงานวิจัยว่ามีสารช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน

“แปะก๊วย ปลูกในบ้านเราผลผลิตไม่ดี เลยหันมาดูปวยเล้งเป็นหลักเพราะมีปลูกกันมากทางภาคเหนือ โดยเฉพาะโครงการหลวง และยังมีการปลูกมากมายหลายสายพันธุ์ เรียกกว่ามีวัตถุดิบให้ทำวิจัยง่ายกว่าแปะก๊วย ในการศึกษาวิจัยเราพบว่า สารที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคอัลไซเมอร์จะมีมากบริเวณลำต้นที่คนไม่ชอบกิน จะมีมากเป็นพิเศษในปวยเล้งพันธุ์โบลีโร (Bolero) และนอร์ดิก (Nordic)”

NjpUs24nCQKx5e1D7RzAfQ7UbxxD9tWOXxx2jkS8vas

แต่ด้วยปวยเล้งสดมีรสชาติขม คนส่วนใหญ่มักจะไม่นิยมรับประทาน ทางทีมวิจัยจึงต้องคิดพัฒนาต่อยอดนำปวยเล้งมาอัดเป็นเม็ดเพื่อความสะดวกในการบริโภค โดยใช้กระบวนการนำต้นปวยเล้งเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ลำตัวอวบ ใบยังมีสีเขียว (ใบมีสีเหลืองใช้ไม่ได้เพราะสารจะมีน้อยลง) นำไปเข้าเครื่องปั่นให้เป็นของเหลว แล้วแยกส่วนที่เป็นน้ำออกไป ก่อนจะอบแห้งเป็นผงและอัดเป็นเม็ด เมื่อนำไปวิเคราะห์หาสารสกัด ปรากฏว่าสารยังมีครบถ้วน…จึงได้นำไปทดสอบกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ปวยเล้งอัดเม็ดผ่านการประเมินความปลอดภัยต่อสัตว์ทดลอง

และเมื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ต่อความจำในอาสาสมัครชายและหญิงอายุ 60 ปี เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ ระยะเวลา 3 เดือน ดร.กฤติยา บอกว่า อาสาสมัครมีความจำดีขึ้น ร่วมทำแบบทดสอบความจำ และตอบคำถามเรื่องการกินอาหารในชีวิตประจำวันได้ดี คิดเลขได้แม่นยำรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย.

เรื่องน่าสนใจ