เนื่องจาก โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาและควบคุมความดันโลหิต จะมีอายุสั้นลง 10-20 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะความเสื่อมของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง แม้ว่าจะไม่มากถ้าไม่รักษาใน 7-10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดความพิการและเสียชีวิตเฉียบพลันได้ 

 

โรคความดันโลหิตสูง

จากการสํารวจสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) พบว่ามีผู้สูงอายุจํานวนมาก ป่วยเป็น โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน พบว่าร้อยละ 72.0 ของผู้สูงอายุ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสจัด อาหารประเภทเครื่องในสัตว์ อาหารที่มีไขมันและกะทิ เนื่องจากเคยชินกับการทานอาหารที่มีรสจัด ปรุงอาหารด้วยน้ำมัน อาหารผัด ทอด อาหารที่มีส่วนประกอบด้วยไขมัน ส่วนใหญ่ปรุงอาหารทานเอง ซื้ออาหารจากร้านอาหารแผงลอย และมีการทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย อีกร้อยละ 78.0 ของผู้สูงอายุ ไม่ได้ออกกําลังกาย หรือออกกําลังกายเบาๆ โดยทํางานบ้าน ทําสวน ไม่มีผู้นําการออกกําลังกาย อีกร้อยละ 82.2 ของผู้สูงอายุ จะเก็บความเครียดไว้กับตนเอง ไม่ได้ระบายให้ใครฟัง หรือเล่าให้ลูกหลานฟังแล้วไม่มีใครสนใจ และไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม  

โรคความดันโลหิตสูง ภัยร้ายอันดับต้นๆ คุกคามชีวิตผู้สูงอายุ

โรคความดันโลหิตสูง
doctormurray.com

ความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง กับผู้สูงอายุ

การที่ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม ย่อมส่งผลให้สภาวะสุขภาพผู้สูงอายุมีความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยจะมีการทําลายอวัยวะต่างๆ ที่สําคัญของร่างกาย เกิดความพิการ และอาจทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ 

ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radical theory)

อนุมูล (Radical) คือหมู่ปรมาณูซึ่งจับกลุ่มกันอยู่ และแสดงปฏิกิริยาทางเคมีเสมือนหนึ่งเป็นปรมาณูเดียว โดยจะเปลี่ยนที่จากสารประกอบหนึ่งไปยังสารประกอบหนึ่งได้โดยไม่แยกจากกัน ทฤษฎีนี้กล่าวถึงสาเหตุที่ทําให้เซลล์มีอายุและตายได้ เนื่องจากมีการสร้างอนุมูลที่มีฤทธิทําลายอนุมูลอิสระนี้ เป็นส่วนประกอบทางเคมีของเซลล์ เกิดจากกระบวนการทํางานปกติของเซลล์ คือผลจากการใช้ออกซิเจนไนเซลล์ ออกซิเจนเป็นสารที่ทําปฏิกิริยาไวมาก เมื่อทําปฏิกิริยากับโปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดไขมัน โดยเฉพาะกรดไขมันไม่อิ่มตัว จะทําให้เกิดอนุมูลอิสระทีละน้อย ซึ่งเมื่อสะสมกันมากขึ้น ก็จะมีอันตรายต่อการทํางานของเซลล์ ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ไม่สามารถทํางานได้ตามปกติ และในที่สุดก็จะตาย

โรคความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ อนุมูลอิสระจะเกิดจากสารทั่วๆ ไป เช่น อาหาร รังสี มลภาวะของอากาศ การสูบบุหรี่ ปฏิกิริยาในการสร้างอนุมูลอิสระจะช้าลง ถ้าได้รับสารต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวกับออกซิเจน (Antioxidant) ซึ่งได้แก่วิตามินเอ ซี อี และไนอาซีน (Niacin) โดยทั่วไปผู้สูงอายุมักมีระดับของไวตามินเอ และซี ในซีรั่มลดลง จึงทําให้การสร้างอนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งร่างกายของคนเราจะถูกรบเร้าโดยอนุมูลอิสระ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

เพราะฉะนั้น การลดอัตราการเกิดอนุมูลอิสระ ทําได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้ดี ลดมลภาวะของอากาศ เลือกทานอาหารที่มีคุณสมบัติต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวกับอ็อกซิเจน และลดสารอาหารที่จะไปเพิ่มการทําหน้าที่ของอนุมูลอิสระด้วย การทานอาหารจํานวนน้อยๆ โดยแบ่งออกเป็นหลายมื้อ จะทําให้ของเสียที่ได้จากกระบวนการออกซิเดชัน (Oxidation) มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งไม่มีอันตรายต่อร่างกาย สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทําให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี และมีอายุขัยนานขึ้นค่ะ

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

 

 

เรื่องน่าสนใจ