กรดไหลย้อน ภาวะแสบร้อนกลางอก อาจเป็นภัยร้ายสู่มะเร็งหลอดอาหาร ซึ่งโรคกรดไหลย้อน หมายถึงภาวะที่กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทําให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ เราจะมีอาการเจ็บหน้าอก ปวดแสบร้อน บริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ ที่เรียกว่า heart burn บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้ และบางครั้งอาจจะรู้สึกได้ถึงรสเปรี้ยว

 

กรดไหลย้อน
ภาพจาก healthination.com

 

กรดไหลย้อน ภาวะแสบร้อนกลางอก อาจเป็นภัยร้ายสู่มะเร็งหลอดอาหาร

ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าเมื่อเราทานอาหารเช้าไป อาหารในปากจะถูกเคี้ยวและกลืนเข้าหลอดอาหาร จากนั้นจะถูกบีบไล่ไปยังกระเพาะอาหาร ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร จะมีหูรูด หรือที่เรียกว่า Sphincter ทําหน้าที่ปิดไม่ให้อาหารหรือกรดไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะ จะมีกรดออกมาจํานวนมาก ภายหลังจากที่อาหารได้รับการย่อยแล้ว จะถูกบีบไปยังลําไส้เล็ก ดังนั้น หากมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก ในบางคนหูรูดส่วนนี้ทํางานได้น้อยลง ซึ่งจะพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน พบได้ในคนทั่วไป ทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือคนที่สูบบุหรี่ สําหรับโรคแทรกซ้อนจากหลอดอาหารที่อักเสบ อาจจะทําให้เกิดแผล และมีเลือดออก หรือหลอดอาหารตีบ ทําให้กลืนอาหารลําบาก อาจจะทําให้คนที่เป็นโรคปอดอยู่แล้ว อาการแย่ลง เช่น โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ หรืออาจนําไปสู่การเกิดแผลที่หลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารจาก กรดไหลย้อน ได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกรดไหลย้อน

  • อาหารและเครื่องดื่มที่ทําให้กล้ามเนื้อหูรูดในหลอดอาหารคลายตัว เช่น แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต สะระแหน่
  • อาหารประเภทที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมัน มันฝรั่งทอด อาหารผัด หรืออาหารทอดที่อมน้ำมัน
  • อาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่ม และอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ผลไม้เปรี้ยว น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (น้ำส้มคั้น) น้ำมะเขือเทศ
  • อาหารและเครื่องดื่มที่ทําให้เกิดแก๊สมาก เช่น กระเทียม หัวหอม น้ำอัดลม
  • เครื่องดื่มคาเฟอื่น เช่น ชา กาแฟ โคล่า ยาชูกําลังที่มีสารคาเฟอีน ฯลฯ เพราะจะกระตุ้นให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากขึ้น
  • การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่ จะเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และอาจทําให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง
  • ความเครียด มีส่วนทําให้หลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น
  • เบาหวาน เมื่อเป็นโรคนี้นานๆ จะมีการเสื่อมของประสาทกระเพาะ ทําให้กระเพาะอาหารขับเคลื่อนช้า จึงทําให้เกิดกรดไหลย้อนได้
  • โรคอ้วนและการตั้งครรภ์ เพราะจะทําให้มีความดันในช่องท้องสูงขึ้น ความดันในกระเพาะอาหารจึงสูงขึ้นตามไปด้วย
  • โรคหืด เชื่อว่าเป็นผลมาจากการไอ และหอบ ทำให้เพิ่มแรงดันในช่องท้อง จึงเกิดภาวะกรดไหลย้อน รวมทั้งการใช้ยาขยายหลอดลม ก็มีส่วนทําให้หูรูดหย่อนด้วย
  • การมีไส้เลื่อนกะบังลม (Hiatal hernia, Diaphragmatic hermia) ซึ่งมีกระเพาะอาหารบางส่วน ไหลเลื่อนลงไปที่กะบังลมขนาดใหญ่ ทําให้หูรูดอ่อนแอมากขึ้น
  • รอยแผลเป็นปลายกระเพาะอาหาร หรือการใช้ยากลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น ทําให้อาหาร ขับเคลื่อนสู่ลําไส้ได้ช้าลง จะทําให้มีกรดไหลย้อนได้

………………………………………………………………….

เพราะฉะนั้น เราจึงต้องทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อย ถ้าทานแบบอิ่มมากเกินไป จะทำให้ให้เกิดแรงดันที่หูรูด ซึ่งจะทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาได้  ทานอาหารให้ช้า และเคี้ยวให้ละเอียดมากขึ้นก็จะดีค่ะ

เนื้อหาโดย Dodeden.com

 

เรื่องน่าสนใจ