ที่มา: TNN 24

นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ปลัดสธ.) เปิดการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 15 และประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 13 ปี 2559 ระหว่างวันที่ 8-10 มิ.ย. โดยปีนี้ได้เน้นประเด็น “สติ วิถีแห่งสุขภาพดี” 

โดยมีเครือข่ายสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 12 ประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ,จีน ,ฮ่องกง ,ไต้หวัน ,อินโดนีเซีย ,มาเลเซีย ,พม่า ,เวียดนาม ,ญี่ปุ่น ,สิงคโปร์ ,ศรีลังกาและประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม ว่า องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาประชาคมโลก จัดการปัญหาต่างๆ ร่วมกันในระยะ 15 ปี ตั้งแต่ปี2558 จนถึงเดือนสิ.ค. 2573 โดย 1 ใน 17 เป้าหมายที่เกี่ยวกับสุขภาพ ได้แก่ การมีสุขภาพที่ดีในทุกช่วงอายุ

51

ทั้งนี้ นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ผลสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติล่าสุด ปี2556 พบว่า คนไทยร้อยละ 1.8 หรือประมาณ 900,000 คน เป็นโรคซึมเศร้า ขณะที่ร้อยละ 3.1 หรือประมาณ 1.6 ล้านคน เป็นโรควิตกกังวล ประกอบกับปัจจุบันประชาชนเริ่มมีความตระหนักและต้องการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะการพัฒนาจิตใจ การฝึกสติจึงเป็นวิธีที่ได้ผลดี ค่าใช้จ่ายต่ำและเหมาะสมกับวิถีชีวิตทางสังคม ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งในการทำงาน สร้างสัมพันธภาพในสังคมและการดูแลสุขภาพ

สธ.จึงให้ความสำคัญในแนวคิด “สติ วิถีแห่งสุขภาพดี” ที่มุ่งให้สุขภาพดีและอยู่อย่างเป็นสุข ทุกช่วงวัย สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจและสังคม ด้วยการฝึกสติ ซึ่งมีการศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า การฝึกสติเป็นประจำและสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันบรรเทาและบำบัดอาการเจ็บป่วยได้อย่างหลากหลาย รวมถึงอาการที่เกิดจากความเครียด เช่น ความวิตกกังวล ,อาการซึมเศร้า ,พฤติกรรมเสพติด ,โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการปวดเรื้อรัง นอนไม่หลับ ,ไมเกรน ,ภูมิแพ้ ,หอบหืด

ด้านพญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สำหรับปัญหาสุขภาพจิตเด็กที่ต้องมีการจับตาเป็นพิเศษรวมถึงร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา คือเรื่องการใช้ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน ที่ปัจจุบันมักพบเด็กและเยาวชนถูกกระทำความรุนแรงได้ในทุกช่วงวัย ซึ่งการใช้ความรุนแรงนั้นยังหมายถึงการที่เด็กถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียน เพราะการแกล้งเพื่อนอาจนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในอนาคตได้ จึงต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยเรียนอย่าให้มีพฤติกรรมดังกล่าว

เรื่องน่าสนใจ