ที่มา: dodeden

ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงานว่า วันนี้ ( 6 พ.ค.2560 ) นายแพทย์ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล รองโฆษกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กรม สบส. ได้สนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านสาธารณสุข รองรับความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน กรม สบส.ได้มุ่งส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรืออสม. ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลผู้สูงอายุและเด็ก ลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในชุมชน

ซึ่งในปีนี้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ดำเนินงาน 4 มิติ คือ ส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และฟื้นฟูสุขภาพ ติดตาม ครอบคลุม 100 เปอร์เซ็นต์ ลดภาระการเกิดโรคใน 5 กลุ่มวัยให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยประเมินความเจ็บป่วยเบื้องต้น และเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อลดโรคติดต่อเรื้อรังของคนชุมชนได้

นายภมร ชูช่วย อสม.ดีเด่น สาขาส่งเสริมสุขภาพในชุมชน จังหวัดชุมพร กล่าวว่า จากการดำเนินงานในพื้นที่บ้านเขาอำปาง ตำบลท่าแชะ อำเภอท่าแชะ จังหวัดชุมพรและได้เก็บข้อมูลสุขภาวะย้อนหลัง 3 ปี พบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้คิดนวัตกรรม Es Cab Health (ECH) หรือระบบดูแลสุขภาพในชุมชนแบบเชี่ยวชาญอย่างยั่งยืน ที่เป็นการทำงานส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และติดตาม ผ่านแอปพลิเคชันส่งเสริมสุขภาพใน 5 กลุ่มวัย

ได้แก่ แม่และเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยใช้แอปพลิเคชัน Family Folder Collector (FCC) หรือโปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา โดยวิธีการปักหมุดบ้านทุกหลังในชุมชน บันทึกข้อมูลด้านสุขภาพลงในระบบ และเชื่อมโยงส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงการประเมินความเจ็บป่วยเบื้องต้น ให้คำแนะนำการปฏิบัติตนอย่างถูกวิธี ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมทั้ง 11 หมู่บ้าน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์จากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นวัตกรรม Es Cab Health (ECH) หรือระบบดูแลสุขภาพในชุมชนแบบเชี่ยวชาญอย่างยั่งยืนมี 4 เครื่องมือ ได้แก่ 1.ตัวบีบไม้ ใช้ฟื้นฟูผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิต ผู้สูงอายุและผู้พิการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีอาการชาปลายมือ 2.วงล้อป้องกันภาวการณ์แท้ง เป็นการดูแลหญิงตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ไปจนถึงการคลอด สามารถประเมินได้ด้วยตนเอง พร้อมระบุเบอร์โทรศัพท์ หากขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และหน่วยกู้ชีพกรณีฉุกเฉิน 3.การเยี่ยมชุมชนด้วยแอปพลิเคชันFCC มาช่วยในการเก็บข้อมูลพื้นฐานให้ครอบคลุมทุกด้าน อนามัยสิ่งแวดล้อม งานเฝ้าระวังโรคติดต่อและ โรคไม่ติดต่อ และ4. วงล้อโภชนาการและพัฒนาการเด็ก เฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กตั้งแต่ แรกเกิด-1ปี

ผลจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า ประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี เห็นได้จากกลุ่มวัยทำงานมีผู้ป่วยสามารถควบคุมน้ำตาลและความดันโลหิตสูงจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายมือลดลงการดูแลภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มวัยรุ่น ให้หันมาสนใจกีฬา100 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มแม่และเด็กสามารถป้องกันภาวะแท้งได้ ร้อยละ 87.50

กลุ่มวัยรุ่นสามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 84.62 และ      ผู้พิการที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร้อยละ 66.67 ส่งผลให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจต่อนวัตกรรมที่นำไปใช้ในชุมชน อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 98

เรื่องน่าสนใจ