กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ชูโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นปราการสำคัญในการป้องกัน และลดความเสี่ยงการระบาดของโรคโควิด-19 นำหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ มาประยุกต์สร้างพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ในกลุ่มนักเรียน

 

กรม สบส

 

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ เกิดขึ้นด้วยเพื่อการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพพื้นฐาน โดยนำเนื้อหาสุขบัญญัติมาร่วมสอดแทรกในการเรียนการสอน ให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงมีพัฒนาการที่สมวัย ซึ่งนอกจากการดำเนินงานในด้านการสร้างเสริมสุขภาพแล้ว ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ช่วงที่ผ่านมาโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติทั้ง 6,092 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นปราการสำคัญในการป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดในกลุ่มนักเรียน โดยนำหลักสุขบัญญัติ 10 ประการมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมตามหลักวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) แก่นักเรียนใช้ป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคโควิด-19 อาทิ หลักสุขบัญญัติข้อ 1 : ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด ป้องกันเป็นหวัดหรือไม่สบาย ข้อ 3 : ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร หลังขับถ่าย และหลังจากทำกิจกรรมต่างๆ เน้นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ เจลแอลกอฮอล์ และข้อ 10 : มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม ด้วยการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค คือ ให้นักเรียนใส่หน้ากากอนามัย การจัดสภาพแวดล้อม/การจัดห้องเรียนอย่างเว้นระยะห่าง และการใช้ภาชนะใส่อาหารของตัวเอง มาใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพให้เกิดการปฏิบัติเป็นประจำ

นายแพทย์ธเรศ กล่าวต่อว่า นอกจากการ นำหลักสุขบัญญัติมาใช้ในการดูแลสุขภาพนักเรียนแล้ว หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ สามารถดูแล ป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ คือการนำพลังด้านบวกของนักเรียนจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในฐานะยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) ซึ่งมีความมุ่งมั่นเสียสละ และเป็นที่ยอมรับของครู อาจารย์ เพื่อนนักเรียน โดยยุว อสม.จะมีบทบาทหน้าที่ร่วมกับครู ผู้ปกครอง เครือข่ายในพื้นที่ หรือแกนนำชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพแก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน เช่น จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านสุขภาพ การสวมหน้ากากอนามัย การเล่นในระยะห่างที่เหมาะสม ฯลฯ ให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพดีอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเพื่อนนักเรียน

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2563 กรม สบส.ตั้งเป้าพัฒนาให้เกิดยุว อสม.ที่จะนำแนวทางการดำเนินงานตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ทั้งในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 และส่งเสริมสุขภาพเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับนักเรียน ใน 878 อำเภอ อำเภอละ 2 โรงเรียน โรงเรียนละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 17,560 คน และเพิ่มเป็น 35,120 คนในปี พ.ศ.2564

 

สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น
ศัลยกรรม
webdodeden

 

เรื่องน่าสนใจ