การฉีดฟิลเลอร์ที่ดี และฉีดโดยผู้เชี่ยวชาญนั้น มีวิธีการฉีดหลากหลายวิธีตามตำแหน่งความลึกตื้นที่ต้องการให้ฟิลเลอร์ไปแทรกตัวอยู่ ไม่ว่าจะฉีดในชั้นผิวหนังกำพร้า (mid-dermis) การฉีดให้ไปอยู่ในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous) หรือการฉีดให้ฟิลเลอร์ไปอยู่ชั้นใต้เยื่อหุ้มกระดูก (sub- periosteal)

การฉีดฟิลเลอร์ที่ดี

การฉีดฟิลเลอร์ที่ดี มีเคล็ดลับอย่างไรบ้าง ?

การฉีดให้ได้ผลดีในแต่ละตำแหน่ง หรือชนิดของฟิลเลอร์เอง ก็อาจจำเป็นต้องฉีดผสมผสานกันโดยเฉพาะการฉีดลึกระดับใต้เยื่อหุ้มกระดูก มักจะไม่เกิดปัญหาไหลย้อย แต่ข้อเสียคือ จะต้องฉีดโดยใช้ปริมาณมากๆ จึงจะเห็นผล ซึ่งเปลืองค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หลายคนที่ฉีดฟิลเลอร์มาแล้ว เมื่อเอามือสัมผัสบริเวณที่ฉีด เทียบกับบริเวณผิวส่วนอื่นที่ไม่ได้ฉีด จะรู้สึกได้ว่า เนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีดกับไม่ได้ฉีดนั้น ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน

ฟิลเลอร์ถูกออกแบบมาให้สลายในหลายช่วงเวลา เช่น ยุบตัวเมื่อผ่านไป 6 เดือน 8 เดือน 12 เดือน หรือ 2-5 ปี แล้วจึงยุบ ในกรณีที่ฟิลเลอร์ไม่ยุบ บริษัทที่นำสารเหล่านี้เข้ามาขายจะนำตัวที่ฉีดสลาย หรือที่เรียกว่าเอนไซม์ ( Enzyme) สลายตัว HA เพื่อมาให้แพทย์ดูวิธีการ คือนำฟิลเลอร์ใส่แก้วน้ำ แล้วเติมเอนไซม์ลงไปในแก้ว จะเห็นได้เลยว่ามันสลายจริง แถมบางคนยังแสดงการดื่มให้แพทย์ดูด้วย เพื่อตอกย้ำว่าสลายได้จริง ปลอดภัยจริง กินได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ก็มีคําถามตามมาว่า เหตุใดที่บอกว่าสลายเองตามธรรมชาติ แล้วยังต้องผลิตสารเพื่อให้สลายด้วย

การฉีดฟิลเลอร์ที่ดี
ภาพจาก thprs.org

ข้อสังเกตเมื่อมีการแสดงวิธีการสลายฟิลเลอร์ให้ดูนั้น มักทำภายนอกร่างกาย แต่สำหรับสารที่ถูกฉีดเข้าไปในร่างกายคนแล้วไม่เหมือนกัน เพราะในร่างกายมีเน้ือเยื่อ (Connective tissue) ที่สารฟิลเลอร์ เหล่านี้ไปเกาะแทรกอยู่ อีกทั้งเมื่อฉีดยาสลาย ตัวยานั้นไม่ได้วิ่งเข้าไปหาฟิลเลอร์ได้ง่ายเหมือนตอนยังไม่มีฟิลเลอร์ เพราะตอนนี้ ช่องว่างระหว่างเซลล์นั้น เต็มไปด้วยฟิลเลอร์ท่ีแทรกก่อนหน้าน้ันแล้ว หลายคร้ังที่คนไข้ฉีดสลายมาแล้ว ไม่หมดต้องกลับไปฉีดอีกหลายคร้ัง ปัญหาอีกอย่างคือ ฟิลเลอร์ที่ถูกฉีดยาสลายแล้ว มักสลายจากจุดที่ฉีดแล้วไหลไปกองรวมกันบริเวณอื่น

อุปกรณ์ส่งเสริมในการฉีด (Filler supporter)

ควรใช้เข็มขนาดเล็กมาก แม้กระทั่งเข็มที่ให้มากับกล่องฉีดฟิลเลอร์นั้น ก็ยังมีขนาดใหญ่เกินไป ให้ไปเปลี่ยนเป็น Blunt Flexible Micro-cannulas จะเหมาะสมกว่า และย้ำว่า ไม่ใช่ Blunt Cannulas เฉยๆ แต่ต้อง Flexible ด้วย เพราะเมื่อปลายเข็มแบบทู่โอกาสที่จะแทงเข้าเส้นเลือดจะน้อยลง และเมื่อปลายเข็มทู่ จะไม่สามารถแทงทะลุผิวหนังได้ แพทย์จึงต้องใช้เข็มจริงแทงเป็นทางนําให้ก่อน แล้วจึงแทงเข็มทู่เข้าไปในบริเวณที่ต้องการเติมฟิลเลอร์ได้

ภาพจาก thprs.org

การใช้เครื่องมือเพื่อสแกนเส้นเลือด
บริเวณที่ฉีดขณะทําการฉีด และฉีดเข้าไปในส่วนที่ไม่มีเส้นเลือด และหลีกเลี่ยงการฉีดเข้าไปในเส้นเลือด เครื่องมือนี้จะช่วยได้มาก ในผู้ป่วยที่มีผิวคล้ำ หรือผิวหนังหนา จากการมีไขมันปกคลุมเส้นเลือด

วิธีการฉีด
ก่อนฉีดต้องดูดเพื่อตรวจสอบว่ามีเลือดด้วยหรือไม่ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐาน หลังจากนั้นจึงเริ่มฉีดเบาๆ (Low Pressure Injection) ฉีดฟิลเลอร์ครั้งละไม่มาก และฉีดช้าๆ อย่างระมัดระวัง

ปริมาณการฉีด
ควรฉีดปริมาณน้อย และไม่ควรเสี่ยงฉีดคนเดียว ถึง 2 กล่อง เนื่องจากฟิลเลอร์ ไม่ได้ออกแบบมาให้เติมปริมาณมาก แล้วจะไปทดแทนความโด่งของจมูกได้ เพราะหากฉีดมากเกินไป อาจจะมีผลกระทบต่อเนื้อหนังบริเวณดังกล่าวได้

สารที่ฉีด
เป็นสิ่งที่คลินิกแต่ละแห่ง ต้องตระหนักอยู่แล้วว่า สิ่งที่นํามาฉีดให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. หรือไม่ล้วนแต่มีผลให้เกิดตาบอดได้เช่นกัน

ที่สำคัญ ประวัติการฉีดหรือประวัติการเคยผ่าตัด หากผู้รับบริการเคยฉีดมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ทั้งฟิลเลอร์แบบถาวร หรือชั่วคราวก็ตามการฉีดเข็มที่สองจะอันตรายเสมอ และยิ่งมีประวัติว่า เคยผ่าตัดเสริมจมูก หรือประสบอุบัติเหตุมาก่อนก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการฉีดอย่างเด็ดขาด เพราะกายวิภาค (Anatomy) ของเส้นเลือดเปลี่ยนไปแล้วไม่มากก็น้อย

เนื้อหาโดย Dodeden.com

สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น ศัลยกรรม webdodeden

เรื่องน่าสนใจ