เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com 

โรคเนื้องอกมดลูก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน อย่าคิดว่าสุขภาพของคุณแข็งแรง แล้วจะไม่มีทางเป็นโรคนี้ เพราะเนื้องอกมดลูกนั้นอาจจะเป็นเซลล์แฝงตัวโดยไม่แสดงอาการผิดปกติออกมา แต่ถ้าตรวจเจอแต่เนิ่นๆ ก็สามารถทำการรักษาก่อนที่มันจะลุกลามเป็นโรคมะเร็งมดลูกได้ วันนี้โดดเด่นดอทคอมเลยจะพาคุณผู้หญิงทุกคนไปทำความรู้จัก และป้องกันโรคนี้กันก่อนที่จะสายไปค่ะ 

Pretty blonde suffering with stomach ache at home in the bedroom

เนื้องอกมดลูก มีชื่อเรียกแบบเต็มยศว่า เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เป็นอาการผิดปกติของเซลส์ชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก ซึ่งทำให้มดลูกนั้นขยายขนาด หรือ ลดขนาดจนไม่เหลือได้ แต่เท่าที่เจอกับผู้หญิงในปัจจุบันนั้นไม่ใช่ กลับกลายเป็นค่อย ๆ ขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างช้า ๆ จนกว่าจะถึงวัยหมดประจำเดือน (อายุ 47-51 ปี) เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา ที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งมดลูกน้อยมาก

โอกาสการพบเนื่องอกมดลูก
– หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธู์ ทุกช่วงอายุ
– หญิงตั้งครรภ์ พบได้ร้อยละ 1-4
– หญิงอายุเกิน 35 ปี พบได้ร้อยละ 40-50 มีเป็นและไม่เป็นเนื้องอกมดลูกครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว
– หญิงที่อายุเกิน 50 ปี จะมีโอกาสเป็นเนื้องอกมดลูกสูง

Beautiful female body

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกมดลูก
ยังไม่มีสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน แต่จากข้อมูลการศึกษาพบว่า มีดังนี้

– กรรมพันธู์
– ผู้หญิงอ้วน
– ผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์
– ผู้หญิงที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
– ผู้หญิงที่ไม่มีลูก มีลูกยาก และรักษาด้วยฮอร์โมน
– ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็ว (หมดก่อนอายุ 50 ปี)
– ผู้หญิงบางเชื้อชาติ เช่น หญิงผิวดำ จำนวนก้อนเนื้องอก และขนาดจะใหญ่กว่าคนผิวขาว
– ถ้าคุณแม่ที่มีภาวะแท้งคุกคามขณะตั้งครรภ์ และรักษาด้วยการรับฮอร์โมนเพศหญิง (DES) ได้ให้กำเนิดลูกเป็นเพศหญิง ลูกจะมีโอกาสเสี่ยงสูง
– พบน้อยในผู้หญิงที่มีลูกคนแรกก่อนอายุ 24-25 ปี
– พบน้อยในผู้หญิงที่มีลูกหลายคน
– ถ้าเกิดการตั้งครรภ์ เนื้องอกจะขยายขนาด
– ถ้าเป็นเนื้องอกขณะหมดวัยประจำเดือน เนื้องอกจะขนาดไม่ใหญ่
– เชื่อว่าสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัว (อากาศ แม่น้ำ พื้นดิน) ที่ไม่สะอาดเป็นพิษ และมีการปนเปื้อนสารที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง (เช่น ถุงพลาสติก ยาฆ่าแมลง) เป็นสาเหตุให้ผู้หญิงเป็นโรคเนื้องอกมดลูกมากขึ้น
– เชื่อว่าการฉีดยาคุมและการฝังยาคุม ช่วยลดความเสี่ยง
– เชื่อว่าการกินยาคุมเพิ่มการเกิดเนื้องอก

อาการของเนื้องอกมดลูก
75% ไม่ค่อยมีอาการ 25% ที่เหลือ อาการมักจะเกิดจากการกด บีบเส้นเลือด-เส้นประสาท เนื้อเยื่อข้างเคียงของเนื้องอก หรือการเสื่อมสลายของเนื้องอก

อาการที่พบบ่อย
– ปวดท้อง

การปวดท้องมากหรือน้อย จะไม่เกี่ยวกับขนาดของก้อนเนื้องอกมดลูก เช่น ก้อนใหญ่จะปวดมาก ก้อนเล็กจะปวดน้อย บางคนปวดตอนยกของหนัก ปวดตอนมีเพศสัมพันธู์ ปวดตื้อ ๆ ตลอดเวลา
– ปวดประจำเดือน
ถ้าเลือดออกมาก ก็จะทำให้ปวดมากตามไปด้วย
– ปวดหลัง
เนื่องจากก้อนเนื้อมดลูกขยายขนาดและย้อยไปทางด้านหลัง ไปทับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหลัง
– มีประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ มีเลือดออกผิดปกติ
เกิดจากเนื้องอกมดลูกทุกชนิด ยกเว้น เนื้องอกมดลูกผิวมดลูก และเนื้องอกมดลูกที่ปีกมดลูก เพราะมดลูก 2 ประเภทหลังไม่อยู่ในโพรงมดลูก จึงทำให้ไม่มีการอาการตกเลือด
– ปัสสาวะไม่สะดวก ปัสสาวะบ่อย
เนื่องจากเนื้องอกมดลูกขยายขนาดมากดกระเพาะปัสสาวะ
– มีก้อนลอยอยู่ในท้อง
เนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ สามารถคลำพบได้ด้วยตัวเอง วิธีการคลำคือ หลังจากที่ตื่นนอน (ห้ามปัสสาวะ) คลำที่หน้าท้อง หากมีก้อนในท้อง จะสามารถสัมผัสก้อนแข็งได้ด้วยตัวเอง เนื่องจาก กระเพาะปัสสาวะที่มีน้ำปัสสาวะอยู่ จะดันเจ้าก้อนนี้ให้ลอยขึ้นมา
– จุกแน่นท้อง เนื่องจากเนื้องอกมดลูกขยายขนาดไปกด-เบียดกระเพาะอาหารและลำไส้
– ท้องผูก เนื่องจากเนื้องอกมดลูกขยายขนาดไปกด-เบียดลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
– ท้องโตขึ้น หรือรู้สึกว่า ตัวเองมีหน้าท้อง มาจากมดลูกที่ขยายขนาด
– อาการอื่น ๆ เช่น ซีด  อ่อนเพลียจากการเสียเลือดประจำเดือนที่มาก

Depositphotos_20191845_s (1)

การรักษาเนื้องอกมดลูก

1. รักษาโดยการติดตาม ซึ่งจะใช้ได้ในกรณีที่
– เนื้องอกมดลูกมีขนาดไม่เกิน 10 ซม. หรือ มีขนาดเล็กกว่าการตั้งครรภ์ 3 เดือน หรือ ไม่สามารถคลำได้ด้วยตัวเองจากหน้าท้อง
– ไม่มีอาการปวดที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือ ไม่ตกเลือดมากจน ไม่มีแรง หน้ามืด
– ไม่มีการตรวจพบ ของเนื้องอกที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เนื้องอกไปกดการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
– ไม่พบว่า เนื้องอกนี้จะกลายเป็นมะเร็ง, เนื้อร้าย

อาการที่แสดงว่า เนื้องอกมดลูกจะกลายเป็นมะเร็ง, เนื้อร้าย
– เนื้องอกมดลูกโตเร็วภายใน 1-2 เดือน
– เนื้องอกมีลักษณะที่แข็ง และยึดติดกับเนื้อเยื่อข้างเคียง
– มีก้อนเนื้อกระจายไปทั่วอวัยะข้างเคียง เช่น ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
– มีการกระจายไปตับ สมอง กระดูก เป็นต้น
– มีอาการของโรคมะเร็ง เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นต้น
– หลังจากการขูดมดลูก แล้วมีเลือดออกกะปริบกะปรอย
– เนื้องอกมดลูกมีขนาดโตขึ้นหลังหมดประจำเดือน หรือในผู้สูงอายุที่เกิน 60 ปี

2. วิธีการรักษาโดยการใช้ยา
ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด ฮอร์โมนชนิดกิน อาจทำให้เนื้องอกลดขนาดหรือหยุดการขยายขนาดได้
  GnRH (ยาห้ามการทำงานของฮอร์โมนจากรังไข่) ทำให้เนื้องอกลดขนาดลงชั่วคราว จะเหมาะกับคนที่ไม่พร้อมผ่าตัด  หรือเป็นการให้ยาก่อนผ่าตัด เพื่อให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลง จะได้ง่ายต่อการผ่าตัด เสียเลือดน้อย ลดภาวะการแทรกซ้อน

3. สลายเนื้องอกด้วยการใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวนด์
เหมาะกับเนื้องอกมดลูกที่ขนาดไม่ใหญ่ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

4. จี้
– โดยการใช้ไฟฟ้า, เลเซอร์จี้ ถ้าเนื้องอกไม่ใหญ่ สามารถจี้จากการตรวจภายใน, ผ่าตัดเข้าไปที่ช่องท้อง

5. ฉีดสารอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอกมดลูก
– ใช้กับคนไข้ที่ไม่พร้อมผ่าตัด เช่น อายุมาก, โรคหัวใจ, โรคปอด, โรคเลือด เป็นต้น โดยการฉีดสารเข้าไปอัดตันที่เส้นเลือดที่จะไปเลี้ยงเนื้องอกมดลูก เพื่อทำให้เนื้องอกฝ่อลง

6. ฉายแสง
– ใช้กับคนไข้ที่ไม่พร้อมผ่าตัด หรือมีโรคข้อห้ามในการผ่าตัด โดยการฉายแสงทำลายรังไข่ คนไข้จะหมดประจำเดือน และเนื้องอกมดลูกจะยุบลง

7. บิด ตัดผ่านการตรวจภายใน
– ใช้ได้กับ เนื้องอกมดลูกใต้เยื่อบุโพรงมดลูก (Submucosal myoma) และเนื้องอกมดลูกที่ปากมดลูก (Cervical myama) ที่มีขั้วยาว

8. ผ่าตัดเอาเนื้องอกมดลูกออก
ใช้ในกรณีที่เนื้องอกมดลูกเป็นก้อนเดี่ยว ๆ หรือ กรณีต้องการมีลูก แต่การใช้วิธีนี้มีข้อเสียคือ
– อาจกลับมาเป็นเนื้องอกมดลูกใหม่ได้
– หลังผ่าตัดไป อาจจะมีลูกไม่ได้ เพราะ เนื้องอกมดลูกได้ทำลายสภาพของมดลูกไปอย่างสิ้นเชิง
– ใช้ได้กับเนื้องอกมดลูกบางชนิด เช่น เนื้องอกมดลูกในกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกมดลูกผิวมดลูก เนื้องอกมดลูกที่ปีกมดลูก แต่จะต้องมีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก
– การตัดเฉพาะเนื้องอกมดลูกที่ต้องเลาะเข้าไปจนถึงโพรงมดลูก หากกำลังตั้งครรภ์อยู่ มดลูกอาจจะแตกได้ หรือ แตกก่อนและขณะปวดท้องคลอดได้

9. ผ่าตัดเอามดลูกออก
– เนื้องอกมดลูกมีขนาดใหญ่กว่า 10 ซม. หรือ มีขนาดใหญ่กว่าครรภ์ขนาด 3 เดือน
– มีอาการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น มีเลือดออกผิดปกติ ประจำเดือนมามากหรือมานานกว่าปกติ ปัสสาวะไม่สะดวก ปัสสาวะบ่อย ปวดท้อง ปวดหลัง
– มีบุตรยาก เนื่องจาก เนื้องอกมดลูกได้ปิดการเดินทางของไข่และเชื้ออสุจิ

และนี่ก็เป็นโรคเนื้องอกมดลูก โรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้ทุกคนโดยที่คุณไม่คาดคิด และเป็นโรคที่ค่อนข้างน่ากลัว ทราบแบบนี้แล้ว โดดเด่นดอทคอมก็แค่แนะนำให้คุณผู้หญิงตรวจสุขภาพประจำปีกับคุณหมอบ่อยๆ นะคะ เพื่อเป็นการเช็คสุขภาพตัวเอง และถ้าเกิดเป็นขึ้นมาจริงๆ จะได้รักษาได้ทันท่วงทีค่ะ

จากแหล่งอ้างอิง หนังสือ 6 โรคร้ายผู้หญิงควรระวัง พิมพ์ครั้งที่ 4 โดย พญ. ชัญวลี ศรีสุโข

เรื่องน่าสนใจ