ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

ทีมนักวิจัยจากเทคนิคัล ยูนิเวอร์ซิตี แห่งประเทศเดนมาร์ก นำโดยซิมอน ราสมุสเซน นักวิชาการด้านข้อมูลชีววิทยา ประจำมหาวิทยาลัย เผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคระบาดเกิด ขึ้นมานานกว่าที่เคยคิดกันไว้ก่อนหน้านี้หลายพันปี

14467268381446727020l

ทีมวิจัยอาศัยการ วิเคราะห์ฟันจากซากศพของบุคคลยุคสมัยต่างๆ จำนวน 101 ราย ซึ่งได้ตัวอย่างจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ หลายแห่ง นำมาตรวจสอบดีเอ็นเอและพบดีเอ็นเอของแบคทีเรีย เยอร์ซิเนีย เพสทิส ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดกาฬโรค ในตัวอย่างจากคน 7 คน โดยดีเอ็นเอของเชื้อโรคที่เก่าแก่ที่สุดที่พบนั้น เป็นคนจากไซบีเรียมีชีวิตอยู่ในยุคสำริด (หลังยุคหินและก่อนยุคเหล็ก)

เมื่อตรวจสอบอายุพบว่าย้อนหลังไปถึง 2,794 ปีก่อนคริสตกาล หรือราว 4,800 ปีมาแล้ว ในขณะที่ตัวอย่างที่ใหม่ที่สุดที่พบนั้นเป็นตัวอย่างจากมนุษย์ในอาร์เมเนีย ที่มีชีวิตอยู่ในยุคเหล็ก มีอายุย้อนหลังไปราว 951 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้านี้หลักฐานเชิงโมเลกุลที่นักวิทยาศาสตร์พบเชื้อโรคในคนนั้นมีอายุย้อนหลังไปเพียง 1,500 ปีเท่านั้นเอง

การค้นพบว่ามีการเกิดโรคระบาดเมื่อประมาณ 4,800 ปีก่อนนั้น แสดงให้เห็นว่าโรคระบาดอาจมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมายาวนานกว่าที่เคยคาดคิดกันก่อนหน้านี้

นอกจากนั้น การค้นพบครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคระบาดนั้นมี การเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยพันธุกรรมหรือจีโนมของเชื้อกาฬโรคจากยุคสำริด ซึ่งเริ่มต้นเมื่อราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ไม่ได้มียีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “วายเอ็มที” ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองเชื้อดังกล่าวนี้เมื่ออยู่ในระบบย่อยของเห็บหมัด ทำให้เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่และระบาดเป็นวงกว้างในมนุษย์ได้ แต่เพิ่งมาพบยีน “วายเอ็มที” ในตัวอย่างแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกาฬโรคนับตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเยอร์ซิเนีย เพสทิส สามารถแพร่ผ่านเห็บหมัดได้ในช่วงระหว่างยุคสำริดหรือหลังยุคสำริดเท่านั้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากาฬโรคไม่ใช่โรคระบาดร้ายแรงและแพร่หลายได้ง่ายโดยเห็บ หมัด ซึ่งติดอยู่กับตัวหนูจนกว่าจะถึงเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว

การกลายพันธุ์ของเชื้อดังกล่าวไม่เพียงก่อให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ใน ประวัติศาสตร์ขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อประวัติศาสตร์ของมนุษย์ด้วยการก่อให้เกิดการอพยพขนานใหญ่ ออกจากพื้นที่ระบาดเพื่อไปตั้งหลักแหล่งในที่อื่นๆ ของผู้คนทั้งในยุโรปและเอเชียระหว่างยุคสำริดอีกด้วย

จากการค้นพบ ครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นด้วยว่ากาฬโรคอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระบาดลึก ลับที่ส่งผลให้ช่วงเวลาช่วงหนึ่งในยุครุ่งเรืองของกรีซ ที่เรียกว่า “ยุคคลาสสิก” สิ้นสุดลง และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้กองทัพจักวรรดิโรมันอ่อนแอลงอีกด้วย

การค้นพบพัฒนาการและการกลายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ เป็นเครื่องบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่าเชื้อโรคอื่นๆ สามารถวิวัฒนาการไปตามกาลเวลาได้ในอนาคตเช่นเดียวกัน

เรื่องน่าสนใจ