ที่มา: dodeden

จากนโยบายของรัฐบาลให้ทุกหน่วยงาน ระดับ กระทรวง กรม หรือเทียบเท่า ต่างๆ  จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน  เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นช่องทางแจ้งเบาะแสความเดือนร้อนจากการกระทำ พฤติกรรมต่างๆ ตามภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ  

ในส่วนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) มีภารกิจตามกฏกระทรวงมากมายหลายประการ เป็นองค์กรหลักคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมผู้ประกอบการด้านบริการสุขภาพเพื่อประชาชนมีสุขภาพดี ชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และ พันธกิจ  “มุ่งมั่นส่งเสริม พัฒนา และ อภิบาล ระบบบริการสุขภาพให้ได้มาตรฐานสากล

โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง” พร้อมทั้งค่านิยม สบส. ได้แก่  ส.สมรรถนะ เป็นฐาน บ.บริการด้วยใจ ส.ใฝ่สามัคคี ซึ่งมีเป้าหมายในระยะ 5 ปี

People Excellence 1.ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองได้ 2.ชุมชนจัดการสุขภาพตนเองอย่างยั่งยืน Service Excellence 1.โครงการพระราชดำริฯ 2.รพ.ผ่านมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ( Green & Clean Hospital ) 3.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ยกระดับสู่สากล 4.ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ

Governance Excellence 1.องค์กร ผ่านเกณฑ์ PMQA 2.องค์กรมีระบบคุณธรรมและความโปร่งใส 3.วิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์เพิ่มขึ้น 4.มีกฏหมายส่งเสริมรายได้และ บริการประชาชน 

พันธกิจที่ไปพร้อมๆ กัน   ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาเรื่อง หมอเถื่อน คลินิกเสริมความงามเถื่อน คลินิกศัลยกรรมเถื่อน  และสถานพยาบาลไม่ได้มาตรฐาน   ฯลฯ

ทั้งนี้  ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากประชาชน หลายๆ เคส เพราะให้ความสำคัญกับประชาชนทุกๆ คนที่ได้รับความเสียหาย หรือ บุคคลที่แอบอ้างว่าเป็นแพทย์   ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง ทุกข้อร้องเรียนและความคิดเห็นของประชาชน  ได้รับการใส่ใจ แก้ไขปรับปรุง ประชาชนสามารถส่งข้อเสนอแนะ หรือ ข้อร้องเรียนได้หลายวิธี  

ได้แก่ เดินทางมาด้วยตนเอง พร้อมเอกสารหลักฐาน  ที่ ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนของ ชั้น 2 ของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) กระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี , เฟสบุ๊คมือปราบสถานพยาบาลเถื่อน, เฟสบุ๊คสารวัตรสถานพยาบาลออนไลน์ และ สายด่วน สบส.

ศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ ในยุค นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) ซึ่งได้บุกเบิกงานสำคัญๆ มากมาย

สำหรับ พระราชบัญญัติสถานพยาบาลฉบับใหม่ ที่ร่าง และ กำลังจะคลอดออกมานั้น มีโทษรุนแรงมาก ทั้งจำคุก และ ปรับเงิน ผู้ประกอบการสถานเสริมความงามต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

โดย “คนไข้” หรือผู้ที่ต้องการเสริมความงาม นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) ได้เน้นย้ำว่าต้องดูแลให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด โดยส่งเสริม และ สนับสนุน การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง องค์ความรู้ต่างๆ ผ่านสื่อต่างๆ โดยกรมฯ ได้มีเอกสารเผยแพร่ ทั้งสิ่งพิมพ์ เอกสาร และ สื่อออนไลน์ รวมทั้งสื่อมวลชนต่างๆ 

ดังนั้น ผู้ที่อยากป้องกันตนเองจากอันตรายที่เกิดจากการเสริมความงาม และการศัลยกรรมที่แพร่หลายเป็นจำนวนมากในตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราต้องมีสติ พิจารณา ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ไม่หลงไปกับการโฆษณาอวดอ้างเกินจริง และราคาที่ถูกจนเกินไป เช่น พวกโปรโมชั่นต่างๆ อยากให้ศึกษาข้อมูลและพิจารณาอย่างรอบคอบจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

หากคุณ ตัดสินใจเลือกคลินิกเสริมความงามแล้ว อย่างแรกเลยต้องตรวจสอบว่าสถานพยาบาลที่เรากำลังจะทำนั้น เป็น “คลินิกเถื่อน หรือ “หมอเถื่อน” หรือไม่ ? โดย มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน ให้พิจารณาจากสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

1 มีการแสดงป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาตจำนวน 11 หลักติดไว้ด้านหน้าสถานพยาบาล 2. มีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล 3. แสดงไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ชัดเจน แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี

4.มีแผ่นป้ายสีน้ำเงินแสดงรูปถ่ายแพทย์ ท่านผู้อ่านต้องสังเกตให้ดีว่าคนที่ให้บริการท่านอยู่นั้นตรงกับรูปแพทย์ที่ติดไว้หน้าห้องตรวจหรือไม่

นอกจากนี้  เข้าไปที่เว็บไซต์แพทยสภา www.tmc.or.th  ตรวจสอบว่าใช่แพทย์จริง หรือ แพทย์เถื่อน  ขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่ไปไกลมาก แต่ทาง ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) ได้มีเครือข่ายติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค เพจ  กรุ๊ปไลน์ ฯลฯ  ซึ่งโซเชียลเหล่านี้แม้จะเป็นเรื่องใหม่ แต่สิ่งที่ใหม่กว่าคือ   เฟสบุ๊คกลุ่มปิด และ กลุ่มลับ ที่มีสมาชิกระดับหมื่น หรือ แสนคน ซึ่งเป็นช่องทางที่มีการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ

โดย กลุ่มปิดของเฟสบุ๊คจะมีลักษณะเฉพาะ  กดขอเข้าได้ แต่จะไม่เห็นโพสต์ จนกว่าจะขอเข้าได้สำเร็จ ส่วน กลุ่มลับ หาไม่เจอ และจะเข้าได้เมื่อต่อเมื่อมีคนเชิญมาเท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้เครือข่ายจะเข้าไปแฝงตัวและนำเอาผู้กระทำผิดออกมารับโทษ

ขณะที่ ขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่จะเน้นการ รับฟังข้อมูล คุยอย่างเป็นมิตร ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และขอบคุณในทุกความคิดเห็นของผู้เสียหาย  เจ้าหน้าที่ ของศูนย์บริการรับเรื่องร้องเรียนจะพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยทันที

หากเรื่องดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที เจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงความต้องการของผู้เสียหาย ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบโดยตรง เพื่อตรวจสอบและหาทางแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจะแจ้งให้ผู้เสียหาย ทราบถึงผลการตรวจสอบและแนวทางการแก้ไขปัญหา  ในกรณีที่ต้องใช้ระยะเวลาเพิ่มเติมในการดำเนินการ ศูนย์บริการรับเรื่องร้องเรียนจะแจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าเป็นระยะจนกว่าเรื่องร้องเรียนจะแล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชน คนไข้ เน้นการศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องจากทางกรมฯ ที่สื่อออกไปอย่างต่อเนื่อง  เอกสารหลักฐาน

ทั้งนี้ จากเรื่องร้องเรียนที่ผ่านมา มักมีคลินิกฉวยโอกาสเพราะเห็นแก่รายได้  โดยเฉพาะราคา ค่าบริการที่เป็นคอร์สต่อเนื่องกัน  ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการรักษาผิวหน้า ลดริ้วรอยโดยไม่ต้องผ่าตัด และมักจะแข่งขันกันที่ราคา

ซึ่งหลายคนอาจตัดสินใจซื้อโดยมิได้ไตร่ตรองก่อน  อาจมีความเสี่ยงรับบริการจากผู้ที่ไม่มีความรู้ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำให้เกิดผลเสีย ทั้งติดเชื้อ อักเสบ เสียโฉมซึ่งยากต่อการแก้ไขให้กลับมาเหมือนเดิม สร้างความทุกข์ทรมานในการดำเนินชีวิต

ดังนั้น ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) จะสามารถตอบโจทย์ปัญหาตรงนี้  จำเป็นต้องมีเครือข่ายที่ใกล้ชิดกับแหล่งข้อมูลจริงๆ …ซึ่งจะทำให้ปัญหาลดน้อยลงไป  รวมทั้งการเจรจาปัญหาต่างๆ เน้นการปรองดอง ตามภารกิจกรมฯ ที่คุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมผู้ประกอบการด้านบริการสุขภาพให้ทำธุรกิจอย่างถูกต้อง ได้รับการยอมรับว่า เมืองไทย เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ 

เว็บไซต์แพทยสภา www.tmc.or.th  ตรวจสอบว่าใช่แพทย์จริง หรือ แพทย์เถื่อน

แผนที่ตั้ง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) กระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี

รายงานพิเศษโดย คริษฐ์ ขันทอง 

สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น
ศัลยกรรม
webdodeden

 

เรื่องน่าสนใจ