ภาวะอ้วนลงพุง กับกลไกการเกิดรอบเอวที่ต้องระวัง! โดยทั่วไปเมื่อไขมันสะสมมากขึ้น จะถูกนําไปเก็บไว้ในเซลล์ไขมันที่มีอยู่ทั่วร่างกาย ได้แก่ ในชั้นใต้ผิวหนังที่อยู่รอบอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวัยวะในช่องท้อง และแผงโอเมนตั้ม (ommentum) ดังนั้น เมื่อมีไขมันสะสมในช่องท้องมากๆ จะเห็นหน้าท้องยื่นออกมาชัดเจน
พลังงานที่เหลือใช้จากอาหารที่กินมากเกินไป จะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังงานสํารองในรูป glycogen เก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อลาย และกรดไขมันอิสระเก็บไว้ในเซลล์ไขมันที่มีอยู่ทั่วร่างกายเป็น ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรือ ไตรอะชิลกลีเซอรอล (triacylglycerols) การเก็บพลังงานสํารองในรูปไกลโคเจนมีขีดจํากัดในปริมาณ แต่ที่เซลล์ไขมันไม่มีขีดจํากัดชัดเจน เซลล์ไขมันจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นตามปริมาณไตรกลีเซอไรด์ที่เพิ่มขึ้น ในขณะอดอาหาร มีการสลายไกลโคเจนที่สะสมในตับเป็น กลูโตล ส่งไปให้เซลล์ใช้เป็นพลังงาน และตับสามารถเปลี่ยนกรดไขมันอิสระให้เป็นสารคีโตน (ketone) เพื่อใช้เป็นพลังงานได้
เมื่อร่างกายมีความต้องการพลังงานเพิ่มเติม เช่น ในขณะออกกําลังกาย กล้ามเนื้อจะสลายไกลโคเจนซึ่งมีจํานวนจํากัดเป็นกลูโคสมาใช้ก่อน ต่อมาจึงสลายไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ไขมันเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งจะผ่านกระบวนการตัดแปลงที่ตับให้เป็นกลูโคส (gluconsogaresis) ส่งไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ เพื่อใช้เป็นพลังงาน และตับสามารถสร้างกลูโคสจากสารอื่นได้ คือจาก แลคเดต กรดอะมิโน เมื่อออกกําลังกายเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อลายใช้ทั้งกลูโคส และกรดไขมันอิสระเป็นพลังงานได้
ความอยากอาหาร ความรู้สึกอิ่ม และการเก็บสะสมไขมันในเซลล์ไขมัน มีกลไกควบคุมที่ซับซ้อน โดยศูนย์ควบคุมในระบบประสาทส่วนกลางไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ประสาทเวกัส และฮอร์โมนจากหลายแหล่ง เช่น เล็ปดิน (leptin) จากเซลล์ไขมันอินซูลิน (Insulin) ฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน เป็นต้น
เซลล์ไขมันมี 2 กลุ่มใหญ่
คือเซลล์ไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง และเซลล์ไขมันที่อยู่สัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต ลําไส้ หลอดเลือด โดยทั่วไป การเก็บสํารองพลังงานในเซลล์ไขมันจะกระจายไปทั่วร่างกาย เมื่ออ้วนมาก จึงมีรอบเอวใหญ่ขึ้นตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (อ้วนและลงพุง)
ปัจจัยส่งเสริมให้การสะสมไขมันที่เซลล์ไขมันในอวัยวะช่องท้องที่พบได้แก่ เพศ แอลกอฮอล์ อาหารบางประเภท การสูบบุหรี่ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ความผิดปกติทางพันธุกรรม
เพศ
เพศชายมีไขมันในช่องท้องมากกว่าเพศหญิง เมื่อน้ำหนักขึ้น ลักษณะอ้วนจะเป็นแบบอ้วนที่พุง (android type of obesity) ส่วนผู้หญิงไขมันจะสะสมที่สะโพกและต้นขา ลักษณะเป็นอ้วนที่ส่วนล่าง (Gynoid type of obesity)
ฮอร์โมนเพศชายต่ำในชายสูงวัย
ชายสูงวัยที่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือดต่ำ จะมีลักษณะของกลุ่มอาการเมแทบอลิค (metabolic yndrome) เป็นส่วนใหญ่ ระดับฮอร์โมนที่ต่ำ เชื่อว่าส่วนหนึ่งอธิบายได้จากระดับโกลบูลินที่จับกับฮอร์โมนในเลือดลดลง แต่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอิสระในเลือดลดลงเช่นกัน อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนเล็ปดิน หรือรีเซ็ปเตอร์ที่รับฮอร์โมนเพศชาย (androgen receptor) หรือเอนไซม์ในกระบวนการสร้างฮอร์โมนเพศชาย ทําให้มีรอบเอวใหญ่ และกลุ่มชายที่มีภาวะขาดหรือพร่องฮอร์โมนเพศ จะพบลักษณะเดียวกัน
แอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณเกินกําหนด และต่อเนื่อง ทําให้มีไขมันสะสมในช่องท้องมากขึ้น 2-3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มเบียร์ น่าจะอธิบายจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเล็ปตินกับอะติโปเน็คติน ซึ่งพบจากการศึกษาในหนูทดลอง แต่ไม่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะซื้ออินซูลิน
อาหารบางประเภท
การกินอาหารที่มีไยอาหาร (dietary fiber) สูง มีความหวาน และปริมาณคาร์โบไฮเดรตน้อย ช่วยป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักและรอบเอว การดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และน้ำผลไม้ประจําวันละ 2 แก้ว ทําให้น้ำหนักขึ้นและอ้วนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำตาลฟรุกโตสจากข้าวโพด (high fructose com syrup) ซึ่งนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มบรรจุขวดหรือกระป๋อง เพิ่มการเก็บสะสมไขมันในช่องท้อง
การสูบบุหรี่
คนที่เคยสูบบุหรี่ หรือกําลังสูบบุหรี่ มักมีเปอร์เซ้นต์มีไขมันในช่องท้องสะสมเพิ่มขึ้น
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
ความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว และการสะสมไขมันในร่างกาย โดยมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวตล้อม อาจเป็นความผิดปกติของยีนที่สัมพันธ์กับอ้วนโดยตรง
…………………………………………………………………..
โดยสรุป น้ำหนัก ส่วนสูง และรอบเอว เป็นข้อมูลที่วัดได้ง่าย และใช้เป็นเกณฑ์กําหนดภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงทั่วโลก ซึ่งปัจจัยภายในและสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง ส่งเสริมให้น้ำหนักและรอบเอวเพิ่มขึ้นจนเกิดภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงนั่นเอง
เนื้อหาโดย Dodeden.com