มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทยและมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ ต้นๆของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี มะเร็งเต้านมเริ่มก่อกำเนิดจากเซลล์เยื่อบุผิวของท่อน้ำนม และธรรมชาติของมะเร็งเต้านมมีลักษณะ ของโรคที่มีการแพร่กระจายมากกว่าจะเป็น โรคที่จำกัดอยู่เฉพาะที่ เนื่องจากเซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโต ผิดปกติ และสามารถแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรืออวัยวะอื่นที่อยู่ห่างไกลจากเหล่งกำเนิดมะเร็งได้

 

เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้นจะมีการลุกลามไปตามท่อน้ำนม (mammary duct) สามารถทะลุผ่านผิวหนังชั้นต่างๆ ได้แก่ basement membrane, mammary fat, underlying muscle, overlying skin และลุกลามเข้าสู่ท่อทางเดินน้ำเหลืองของเต้านม

มะเร็งสามารถลุกลามผ่านผนังเส้นเลือด กระจายเข้าสู่หลอดน้ำเหลือง(deep lymphatic) ของผิวหนังชั้น dermis ทำให้เกิดการบวมของผิวหนังแบบผิวส้ม (Peau d’ orange) ซึ่งสาเหตุการเกิดมะเร็ง เต้านมได้เคยมีการศึกษาและสรุปพบว่า มีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรมที่มีญาติสายตรง โดยเฉพาะมารดา พี่สาว หรือน้องสาวเป็นมะเร็งเต้านม, อายุ 40 ปีขึ้นไป, การใช้ ฮอร์โมนตั้งแต่อายุยังน้อย และเป็นเวลานานๆ ความ อ้วน โดยเฉพาะในช่วงวัยหลังหมดประจำเดือน, การเข้าสู่ระยะหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี, มีบุตรคน แรกอายุมากกว่า 30 ปี ผู้ที่มีประวัติเป็นก้อนเนื้อ บางโรค เช่น fibrocystic disease, คนที่ไม่มีบุตร, ประวัติ การมีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อย (ก่อนอายุ 12 ปี) และหมดประจำเดือนช้า (late menopause) เมื่ออายุ มากกว่า 55 ปี

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยส่งเสริมในการเกิดโรคและการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเต้า นม มีดังต่อไปนี้

  1. สตรีที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งเต้านม และตรวจพบความผิดปกติ ของยีนส์โดยเฉพาะยีนส์ BRCA1 เและยีนส์ BRCA2 จะพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งเต้านม ก่อนอายุ 50 ปี
  2. สตรีที่มีประวัติในครอบครัวเช่น มารดา พี่สาว น้องสาว เป็นมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งเต้านม แล้ว จะพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งเต้านมสูงกว่าสตรีทั่วไป นอกจากนี้ยังมีโอกาสเป็นมะเร็ง ลำไส้ได้สูงอีกด้วย
  3. สตรีที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาแล้ว 1 ข้าง มีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมอีกข้างหนึ่งสูงกว่าคน ทั่วไปและพบว่าสตรีที่มีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้แล้ว จะมีโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่และต่อเนื่องถึงโอกาสการ เป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าอีกด้วย
  4. มีประวัติเคยได้รับรังสีบริเวณทรวงอก (Thoracic Irradiation) เพื่อการรักษามะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น Hodgkin disease หรือ Non-Hodgkin lymphoma
  5. เชื้อชาติ มีการศึกษาพบว่าคนผิวขาว มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนผิวดำ/เอเซีย
  6. การมีบุตรตั้งแต่ 5คนขึ้นไป หรือการมีบุตรเมื่ออายุยังน้อย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งยีนส์ที่เกี่ยวข้องได้แก่
    − BRCA1 (Breast Cancer 1) และ BRCA2 (Breast Cancer 2) ซึ่งถือเป็นยีนส์ที่พบว่าหากเกิด การเปลี่ยนแปลง (Mutation) จะทำให้เพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้มากที่สุด
    − CHEK2 (Cell Cycle Checkpoint Kinase 2)
    − ATM (Ataxia-Telangiectasia Mutated) ซึ่งปกติแล้วยีนส์ชนิดนี้จะทำหน้าที่ช่วยซ่อมแซม DNA ที่ถูกทำลาย
    − TP53(tumor protein 53)
    − PTEN (Phosphatase and Tensin homolog)

ตรวจเช็คมะเร็งเต้านม

“เต้านม” คือ อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้างซ้าย-ขวา โดยปัญหาโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับหน้าอกของผู้หญิงนั่นคือ “มะเร็งเต้านม” ทราบไหมว่า มะเร็งเต้านม มีอัตราเฉลี่ยของผู้หญิงที่เป็นพบประมาณ 1 ใน 9 ของผู้หญิงทั้งหมด อีกทั้งเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดชนิดหนึ่งในผู้หญิงและเป็นสาเหตุการตายที่ สำคัญของผู้หญิงอีกด้วย

นั่นเป็นเหตุผลให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า “มะเร็งเต้านม” จะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น และจะพบในช่วงอายุ 35 หรือ 40 ปีขึ้นไป ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว มะเร็งเต้านม สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กวัยรุ่นเช่นกัน ที่สำคัญโรคนี้“ผู้ชาย”ก็มีสิทธิ์เป็นได้ แต่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นต่ำกว่าประมาณร้อยละ 1 หมายความว่าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 100 คน เป็นผู้หญิงเสีย 99 คน เป็นชายแค่ 1 คน

สาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่ทำให้โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ได้แก่ มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย ๆ ถ้าเป็นตอนอายุมาก ๆ ก็ไม่น่าเป็นห่วงเพราะอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น มีรอบเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อยและหมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตเจนในขณะที่มีรอบเดือนยาวนานขึ้น การได้รับฮอร์โมนเอสโตเจน ยิ่งนานยิ่งเสี่ยง ไม่มีลูกหรือมีลูกคนแรกหลังอายุ 30 ปี

รู้เท่าทันอาการ

โดยทั่วไปแล้วบรรดาหญิงสาวมักมาพบแพทย์เมื่อพบก้อนในเต้านม ซึ่งลักษณะของก้อนในเต้านมที่บ่งชี้ไปในทางไม่ดีก็คือ ก้อนเนื้อโตเร็วและแข็ง บางครั้งคลำเจอก้อนในรักแร้ ผิวหนังมีลักษณะคล้ายผิวส้ม ที่ใกล้เต้านมหรือหัวนมจะบุ๋มลงไป และหากไม่ได้รับการรักษาก้อนอาจโตขึ้นจนแตกเป็นแผล และอาจมีน้ำคล้ายเลือดไหลออกมาทางหัวนม แต่ก็เป็นอาการที่พบน้อยมาก

อาจ ใช้ช่วงเวลาในขณะอาบน้ำหรือก่อนนอนตรวจเต้านมของตนเอง ด้วยวิธีง่ายๆ เพียงยกแขนข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจขึ้น เอามือไว้หลังท้ายทอย และใช้ปลายของฝ่านิ้วมือ 3 นิ้ว คือ ชี้ กลาง นาง กดคลำให้ทั่วเต้านม ค่อยๆ คลึงเบาๆ ไปให้รอบเต้านม ไม่ใช้บีบเต้านมนะคะ แล้วสังเกตหน้ากระจกดูสิว่า เต้านม 2 ข้างของเรานั้น มีรูปร่างลักษณะของผิวหนังเต้านมเป็นอย่างไร มีรอยบุ๋ม รอยนูน หรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้างหรือไม่ซึ่งจะยิ่งส่งผลดีหากผู้หญิงตรวจเต้านมด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปเป็นประจำทุกเดือน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือน

ผู้หญิงทุกคนเมื่ออายุ 35 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรม (การบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิทัล มองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์) บางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจเต้านมก่อนวัย 35 เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น เช่น มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งมาก่อน เป็นต้น หากเราตรวจพบเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสหายเร็วเท่านั้น นอกจากนี้ยังควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม เพียงหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมลงได้

ไม่เพียงเท่านี้ เคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยให้ปลอดภัยจากโรคร้าย ยังรวมถึงการปรับพฤติกรรมการกิน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง พบในอาหารที่ผ่านขบวนการเก็บถนอมอาหาร และอาหารจำพวกไส้กรอก แฮม และแหนม อีกทั้ง ควรละเว้นการดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ตามด้วยการมองโลกในแง่ดีด้วย

ที่มา บ้านจอมยุทธ

ป้ายกำกับ: |

เรื่องน่าสนใจ