ที่มา: bloggang

เรียบเรียงโดย โดดเด่นดอทคอม

ภาพจาก bloggang

วันนี้เรามาย้อนอดีตวันวาน ดูภาพสวยๆ ความงามแบบคลาสสิค ภาพแรกเป็น พิธีเปิดการเดินรถราง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

8z

หลายๆ คนคงทราบว่ากรุงเทพฯ เคยมีรถราง ที่ปัจจุบันเป็นขนส่งมวลชนที่ไม่ก่อมลพิษ และใด้รับความนิยมในยุโรป วันนี้เราจะมาย้อนอดีตภาพรถรางที่วิ่งในกรุงเทพมหานครกัน กรุงเทพฯ มีรถรางที่เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1893 (พ.ศ. 2436)

ถือเป็นรถรางไฟฟ้าแห่งแรกในเอเซีย จากเดิมที่เคยใช้ม้าและลาลากตู้รถ ก็ถูกแทนที่ด้วยรถตู้ทำด้วยไม้ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าขนาด 20 แรงม้า ระบบไฟฟ้าที่ใช้สำหรบรถรางนี้

ดำเนินการโดย บริษัท Short Electric Railway Company เมือง Cleveland ประเทศสหรัฐอเมริกา กรุงเทพฯ ซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองประมาณ 9 แสนคน มีรถรางถึง 7 สายด้วยกัน

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

ภาพพิธีเปิดการเดินรถราง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

รถรางทุกสายเป็นแบบรางเดี่ยว รางมีขนาดกว้าง 1 เมตร และรางรถส่วนมากฝังอยู่ในพื้นถนนลาดยาง มีบางช่วงเท่านั้นที่ฝังอยู่บนถนนคอนกรีต และได้มีการให้สิทธิให้รถรางที่วิ่งทางขวาไปก่อน

ในขณะนั้นมีตู้รถรางทั้งหมดรวม 54 โบกี้ รถตู้ที่เป็นมอเตอร์แบบคู่ มี 28 ตู้ และ รถหัวขบวนซึ่งเป็นตัวลาก 62 คัน

แต่ละคันมี 40 แรงม้า สามารถจุคนได้ 60 คน โดยแบ่งเป็นที่นั่ง 36 คน ที่ยืน 24 คน นอกจากนั้นยังมีตัวถังโบกี้รถรางที่มีที่นั่งโดยสาร 2 แบบ

คือ แบบเปิดโล่ง และแบบที่มีกระจกปิด ทุกโบกี้จะมีทางขึ้น 2 ทาง ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย จะมีก็เพียง 5 โบกี้ที่ส่งมาจากอังกฤษ สีของรถรางส่วนใหญ่ มี 4 แบบซึ่งประกอบด้วย 2 สีคู่กัน คือ เหลืองกับน้ำตาล เหลืองกับเขียว เหลืองกับแดง และดำกับเขียวอ่อน

8z

รถราง ยุคแรกในกรุงเทพฯ จุดนี้ คือ บริเวณวงเวียนโอเดี้ยน ถนนเจริญกรุงอยู่ขวามือ ซ้ายมือเป็นถนนเยาวราช(ไม่เห็นถนน) ตึกด้านซ้ายต่อมาสร้างใหม่อยู่ระหว่างกลางของถนนทั้งสองสาย

กระทั่งปี ค.ศ.1961-1962 (พ.ศ. 2504-2505) รถรางทั้งหมดถูกแทนที่โดยบริษัทรถเมล์เอกชน เหลือเพียง 2 สายรอบกรุงเก่าเท่านั้น ซึ่งได้ดำเนินกิจการต่อมาจนถึงปี ค.ศ.1968 (พ.ศ. 2512) จากนั้นก็เหลือรถรางเฉพาะแบบตู้เดี่ยวเพียง 16 ตู้ 2 สาย รถรางที่มีจำนวนน้อยเช่นนี้

ประกอบกับความช้าของการขับเคลื่อนไม่ทันใจผู้ใช้บริการ ที่ในขณะนั้นประเทศไทยเริ่มมีรถจักรยานยนต์ใช้แล้ว เมื่อการจราจรหนาแน่นขึ้น และรถรางต้องวิ่งตัดผ่านถนนต่างๆ ยิ่งเกิดความล่าช้า การยกเลิกระบบรถรางจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 1968 (พ.ศ. 2512)

โดยกระทรวงมหาดไทย ตามข้อเสนอของการไฟฟ้านครหลวง ที่ให้เหตุผลว่า รถรางทั้ง 2 สายที่เหลือนั้น ประสบการขาดทุนโดยเฉลี่ยเดือนละ 7000 บาท ทั้งที่มีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์รถรางเอาไว้ สุดท้ายรถราง 2 สายก็ได้ถูกยกเลิกไป และถูกแทนที่ด้วยรถเมล์

8z

รถรางยุคแรกๆ ก่อนที่จะใช้ระบบไฟฟ้า..ใช้ม้าหรือลาเป็นต้นกำลัง วิ่งบนถนนเจริญกรุง ที่ห้องแถวสองข้างทาง ยังเป็นเรือนแถวไม้ 2ชั้นอยู่ในขณะนั้น

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

8z

ภาพเมื่อ ปีพ.ศ. 2443 รถรางสายบางลำพูแถว สี่แยกบางลำพูตรงเชิงสะพานนรรัตน์สถาน สมัยเมื่อยังมีโครงเหล็กและพื้นเป็นไม้กระดาน (เพิ่งมารื้อโครงเหล็กไปเมื่อ พ.ศ. 2486)

นอกจากรถรางในกรุงเทพฯ แล้ว ยังมีรถรางสายชานเมืองวิ่งไปยังปากน้ำด้วย ซึ่งได้ยกเลิกไปเมื่อปี ค.ศ.1954 (พ.ศ. 2497) นอกจากนั้น การไฟฟ้านครหลวงก็ได้เปิดบริการรถรางที่เมืองลพบุรี เมื่อวันที่ 31 มกราคม ปี ค.ศ.1955 (พ.ศ. 2498) มีระยะทาง 5.75 กม.

โดยใช้ตู้รถรางเก่าจากกรุงเทพฯ รถรางลพบุรีนี้ ดำเนินการอยู่เพียง 7 ปีก็ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ได้มีความพยายามที่จะเปิดดำเนินกิจการรถรางไฟฟ้าในจั งหวัดอื่นด้วย เช่น เชียงใหม่ โคราช และสงขลา

แต่ก็ไม่ปรากฎผลสำเร็จจากปี ค.ศ.1968 (พ.ศ. 2512) เป็นต้นมา ก็ไม่ปรากฎรถรางๆไฟฟ้าวิ่งในเมืองไทยอีกต่อไป

8z

รถรางขณะแล่นผ่านบนสะพานเสี้ยว เมื่อปี พ.ศ. 2505 สะพานเสี้ยว เป็นสะพานข้ามคลองคูเมือง บริเวณสะพานผ่านพิภพลีลาในปัจจุบัน ชื่อสะพานเรียกตามลักษณะของสะพานซึ่งมีรูปเสี้ยวเหมือนขนมเปียกปูนสมัยโบราณ

แม้ต่อมาจะได้มีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสะพานเสียใหม่หลายครั้งหลายหนแต่ก้ยังคงชื่อสะพานไว้เช่นเดิม

จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2444 ครั้งโปรดให้สร้างสะพานผ่านพิภพลีลาขึ้นบริเวณที่เป็นสะพานเสี้ยว จึงโปรดให้ย้ายสะพานเสี้ยวไปอยู่ด้านเหนือ ตรงกับถนนจักรพงษ์ ใกล้ๆ สะพานผ่านพิภพลีลานั่นเอง

ในสมัยที่กรุงเทพฯ ยังมีรถรางอยู่นั้น สะพานเสี้ยวได้กลายเป็นเส้นทางสำหรับรถรางวิ่งข้ามคลองคูเมืองเดิม จนกิจการรถรางเลิก สะพานเสี้ยวจึงกลับมาเป็นสะพานคนเดิมข้ามอีกครั้ง

และได้รื้อออกเมื่อครั้งสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อสะพานและตัวสะพานก็ได้หายไปจากสายตาและความทรงจำของคนกรุงเทพฯ

8z

ตำแหน่งราง รอหลีก หากคันหนึ่งคันใดมาถึงก่อน ต้องรออีกคันมาถึง จึงจะหลีกกันได้ /บ่อยครั้งที่ อีกคันมีปัญหา ทำให้คันที่มาถึงก่อนต้องรอไปเรื่อยๆ นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สร้างความเบื่อหน่าย ไม่ทันใจ

8z

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางสายบางคอแหลม ในภาพ รถรางกำลังจะมุ่งหน้าไปยังแยก มหาพฤฒาราม ส่วนสามล้อ กำลังมุ่งหน้าไปถนนสี่พระยา

8z

น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2485 แสดงให้เห็นว่า ถึงจะน้ำท่วม รถรางก็วิ่งให้บริการได้

8z

ค่าโดยสารรถรางแบ่งเป็นสองชั้น โดยมีฉากลูกกรงไม้แบ่งครึ่งกลางคัน ครึ่งด้านหน้าเป็นเก้าอี้ไม้วางขนานไปกับตัวถังรถ

ส่วนครึ่งหลังเก้าอี้จะมีเบาะนวมสีแดงปูอีกที ค่าโดยสารด้านหน้าเก้าอี้ไม้ เก็บ 10 สตางค์ตลอดสาย ด้านหลังเบาะนวมเก็บ 25 สตางค์ตลอดสาย จนชาวบ้านเรียกว่า “ข้างหน้าสิบตังค์ ข้างหลังสลึง”

8z

รถรางสายบางคอแหลม บนนถนนเจริญกรุง ถ่ายแถวหน้าไปรษณีย์กลางบางรัก ถ่าย โดย Rene Burri เมื่อปี พ.ศ. 2504 เห็นอาคารอดีตห้างไวท์อเวย์เลดลอว์ ที่กลายมาเป็นธนาคาร Bank of America สาขาประเทศไทยแต่ปี พ.ศ. 2492

8z

ภาพการโดยสารด้วยรถรางของคนในสมัยก่อน

8z

พนักงานขับรถราง ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2493

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

ขณะรถรางกำลังวิ่งผ่านบริเวณวัดโพธิ์

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

ภาพรถรางในกรุงเทพ ปี พ.ศ. 2496

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางสายบางซื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางยุคปี 50 ปลายๆ สายบางลำภู กำลังวิ่งเลียบคลองหลอด ขณะวิ่งผ่านอนุสาวรีย์หมู

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

ข้างทางเป็นร้านขายข้าวหมูแดงและถัดไปร้านขายบะหมี่ร้านเก่าแก่ (ปัจจุบันอาคารที่มีหน้าจั่วคือร้านแอ๊ว ท่าพระจันทร์ อยู่ตรงปากทางเข้าอาคารสงเคราะห์กองทัพบกส่วนกลาง(ท่าช้าง) ถนนมหาราช มุ่งหน้าไปท่าพระจันทร์ ปลายทางคือธรรมศาสตร์

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางแถวแยกวัดตึก

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางกำลังวิ่งผ่านเยาวราช โดยมีรถแท็กซี่กำลังแซงผ่านไป สังเกตว่าแท็กซี่เปิดกระจกหูช้างด้านคนขับรับลมด้วย

เพราะรถยนต์สมัยนั้นไม่มีแอร์ อากาศในกรุงเทพฯก็ไม่ได้ร้อนอย่างทุกวันนี้ เพราะตอนนั้นตึกสูงไม่มี สูงที่สุดก็ตึกเจ็ดชั้นเยาวราช ส่วนคนขับรถรางนั้นยืนขับ ไม่ได้นั่งขับ มือขวากุมคันเบรก ส่วนมือซ้ายกุมคันเร่ง ไม่ต้องใช้พวงมาลัยเพราะมันวิ่งไปตามราง

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

ป้ายสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวตรงกลางคือจุดจอด ขึ้นลงและรับผู้โดยสาร….ส่วนป้ายสามเหลี่ยมสีเขียวมีดาวตรงกลางคือป้ายแสดงจุดให้รถรางรอหลีกขบวนกัน

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

หน้าโรงหนังเอมไพร์ ปากคลองตลาด ด้านหลังมีรถเมล์ขาวนายเลิศกะลังฉายหนังไทย.

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางกำลังวิ่งผ่านย่านท่าเตียน รถเมล์สีฟ้า ที่เห็นวิ่งตามหลังรถราง คือ รถเมล์ ร.ส.พ. สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน ตัวถังเป็นโลหะ ผิดกับรถเมล์ยุคเดียวกันที่ส่วนมากตัวถังและพื้นเป็นไม้ คันนี้คาดว่าเป็นเป็นของเบนซ์ รถเมล์ ร.ส.พ. ยุคนั้น ใช้ยี่ห้อ เบนซ์ กับ Hino

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

ภาพรถรางสายบางคอแหลม ขณะวิ่งผ่านที่จุดรอหลีก… ที่แยกบนถนนเจริญกรุง ใกล้ๆกับไปรษณีย์กลาง

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางสายหัวลำโพงขณะวิ่งผ่านประตูโรงเรียนเทพศิรินทร์ ข้างคลองผดุงกรุงเกษม

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

ภาพถ่ายรถรางสายบางคอแหลม เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2504

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางขณะวิ่งผ่านโรงเรียนงามวิไล

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางสายสีลม จอดอยู่บริเวณถนนสีลม ตัดกับ ถนนเจริญกรุง ย่านบางรัก (คาดว่าก่อนปี 2505.. เพราะยังเห็นแนวคลองสีลม ทางขวามือ)

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

รถรางสายหัวลำโพง-บางลำภู ขณะวิ่งผ่านแยกแห่งหนึ่งของบางกอกที่ข้างทางยังมีตึกรูปทรงโคโลเนี่ยนให้เห็น

10609576_869346709799159_2089348662278551555_n

 รถรางขณะวิ่งอยู่แถวบางลำพู แยกวันชาติ ถนนมหาไชย

เรื่องน่าสนใจ