“รางจืด” มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ กำลังช้างเผือก เครือเขาเขียว ขอบชะนาง ยาเขียว(ภาคกลาง)คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
เป็นชื่อของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถา มีลักษณะเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถาจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องกลมมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆหรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ มีสรรพคุณทางยาในด้านการถอนพิษต่างๆ หรือใช้เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ รวมถึงใช้เป็นยารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ
รางจืด เป็นสมุนไพรไทยที่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า มีสรรพคุณ แก้ท้องร่วง อาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ แก้พิษจากสารในยา กำจัดศัตรูพืช แก้พิษเคมี พิษเบื่อเมา พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง พิษสะสม ในร่างกาย ไข้ร้อนใน ฯลฯ
ตำราสมุนไพรไทย กล่าวว่ารางจืดเป็นตัวยารสเย็น ใช้ได้ทั้ง ใบ ราก เถา ตำคั้นน้ำ หรือในตำรับยาไทยบางตำรา จะใช้น้ำซาวข้าวเป็นน้ำ กระสายยา เพื่อให้ฤทธิ์ยาแล่นเร็ว น้ำซาวข้าวจะนำตัวยาจับเม็ดเลือดเข้าสู่กระแสเลือดเร็ว กินเพียงสองครั้งก็เห็นผลในการใช้ดื่มถอนพิษ ทั้งที่เป็นพิษจากยาฆ่าแมลง อาหารเป็นพิษ พิษจากเมาสุรา
ทั้งนี้เพราะสรรพคุณของรางจืดจะเปลี่ยนกรดหรือด่างในร่างกายที่เป็นพิษให้ เป็นกลาง และเมื่อสารยาของรางจืดซึมเข้าไประบบประสาทในเส้นเลือด ไปปะทะกับพิษยา หรือสารพิษต่างๆในร่างกาย มันจะทำลายพิษเหล่านั้นให้เป็นกลางในเวลาอันรวดเร็ว
สารสำคัญที่พบในรางจืดเมื่อทำการสกัด คือ กลุ่ม fiavonoidphenolic, apigenin,cosmosin,deiphindin-3,5-di-O-B-D-glucoside, clorogenic acid, caffeic acid การสกัดด้วยการต้ม พบว่าให้ปริมาณสารสำคัญที่มากกว่า และทำให้ได้สารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด
ประโยชน์ของรางจืด
กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการวิจัยรางจืดอย่างจริงจัง พบว่าสามารถล้างพิษยาฆ่าแมลงได้ และได้นำข้อมูล การวิจัยมาเผยแพร่แก่ประชาชน เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่น่าเชื่อถือได้ ทำให้รางจืดได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทผลิตยาและศูนย์วิจัยต่างๆจึงหันมาให้ความสำคัญนำรางจืดไปผลิตยา สมุนไพรที่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้แม้ว่า รางจืด จะมีคุณสมบัติในการขับพิษ แต่ก็มีโทษในบางบุคคลเช่นกัน ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ, ผู้ป่วยโรคหอบหืด และหญิงตั้งครรภ์ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะมีผลข้างเคียงในเรื่องของการกดประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด ทางที่ดีก่อนการรับประทาน โดดเด่นแนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนนะคะ
ข้อมูลจาก : เจียวกู่หลานtea4you, คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, rspg, รางจืด, wikipedia