รู้ทันโรคซึมเศร้า ภัยเงียบแห่งโรคระบาด ที่ทุกวันนี้ยังมีข้อโต้แย้งในกลุ่มคนทั่วไป ไม่ใช่ในทางการแพทย์ว่า โรคซึมเศร้ามีจริงหรือไม่? ควรได้รับการรักษาจริงหรือ? หรือแม้กระทั่งข้อโต้แย้งว่า ผู้ป่วยได้รับการประคบประหงมมากเกินไปหรือเปล่า?

 

รู้ทันโรคซึมเศร้า

 

โรคนี้ก็ถือเป็นรอยด่างพร้อยของชีวิต จึงไม่แปลกที่คนบางกลุ่มไม่ยอมรับว่าตนเองป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจาก อาการบางส่วนของโรคซึมเศร้า เช่น ความรู้สึกไร้ค่า และรู้สึกผิดรุนแรง อารมณ์หดหู่ต่อเนื่อง ภาวะเศร้าซึม พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลง อาการหงุดหงิดฉุนเฉียว ไม่สามารถคุมสมาธิและอารมณ์ได้ (แต่ภาวะนอนไม่หลับนั้น ไม่ได้อธิบายครอบคลุมถึงอาการผู้ป่วยได้ทุกคน)

 

รู้ทันโรคซึมเศร้า ภัยเงียบแห่งโรคระบาด

คาดการณ์กันว่า โรคซึมเศร้าจะกลายมาเป็นปัญหาสุภาพสําคัญลําดับที่ 2 ภายในปี 2020 และขยับขึ้นมาเป็นลําดับ 1 ก่อนสิ้นทศวรรษ 2030 อย่างแน่นอน แต่ ณ ขณะนี้ โรคนี้ยังจัดเป็นภัยเงียบแห่งโรคระบาด หมายความว่า ยังไม่มีแสงสว่างแห่งทางรักษาที่ชัดเจนให้เราเดินตาม ดังนั้น เราลองมาทําความรู้จักกับมันผ่านบทความชิ้นนี้ก่อนก็แล้วกัน

ภาวะซึมเศร้า ไม่สามารถแบ่งแยกเฉพาะเจาะจงได้เหมือนอาการป่วยแบบอื่น เพราะโรคนี้ถือเป็นโรคแห่งความเท่าเทียม มันสามารถเกิดขึ้นกับคนในทุกช่วงชีวิต ทุกอายุขัย ทุกอาชีพ และทุกฐานะทางสังคม หรือฐานะการเงิน ข้อยากอีกประการหนึ่งก็คือ อาการ เหล่านี้ คล้ายคลึงกับปฏิกิริยาตอบโต้ความเครียดของคนเราเช่นกัน ลองถามผู้หญิงที่พยายามทํางานล่วงเวลา เพื่อหวังเลื่อนตําแหน่ง และต้องตื่นขึ้นมากล่อมลูกตอนเที่ยงคืน พร้อมกับพยายามทําตัวเป็นภรรยาที่น่ารัก เธออาจตอบว่าเคยประสบภาวะที่กล่าวมาข้างต้น ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเธอเป็นโรค ซึมเศร้า

 

รู้ทันโรคซึมเศร้า

 

เหตุผลเบื้องลึกเบื้องหลังที่เป็นตัวแปรให้ผู้หญิงสุขภาพจิตดีเลิศคนหนึ่ง กับผู้หญิงอีกคนที่ตกอยู่ในสภาวะผิดปกติทางอารมณ์ เป็นเรื่องซับซ้อน สาเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้า มักเป็นภาพหลอนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สัญญาณส่อเค้าอาจมาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่พันธุกรรม สภาวะแวดล้อม เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต รวมไปถึงลักษณะนิสัยเฉพาะตัว จริงๆ การอ้างถึงภาวะโรคซึมเศร้าในฐานะโรคที่เป็นแล้วหายได้ ก็ไม่ถูกซะทีเดียว มันจัดอยู่ในกลุ่มอาการของโรคทางจิตที่เกิดจากหลายสาเหตุ

และเนื่องจากโรคซึมเศร้าไม่ปรากฏอาการทางร่างกายเด่นชัด แพทย์ทั่วไปจึงไม่อยากวินิจฉัยเจาะจงชัดเจนว่าเป็นโรคซึมเศร้า แม้บางครั้งหมอจะสามารถตรวจเลือด เพื่อตัดโรคบางอย่างที่สามารถส่อถึงอาการของโรคซึมเศร้า อย่างเช่น โรคโลหิตจาง หรือโรคไทรอยด์ออกไปได้ก็ตาม 

 

รู้ทันโรคซึมเศร้า

 

เนื่องจากอาการป่วยทางจิตใจไม่แสดงออกมาให้คนรอบตัวเห็น ผู้หญิงหลายคนจึงไม่ยอมรับอาการกระวนกระวายใจจนเกินเหตุ และอาการจิตตกเกินเยียวยาของตนว่าเป็นอาการป่วยที่สามารถรักษาให้หายได้ ข่าวร้ายก็คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าน้อยกว่าครึ่ง ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และที่น่าเศร้ายิ่งกว่านั้นก็คือ มีเพียงครึ่งเดียวของผู้ได้รับการวินิจฉัย และยอมรับการบําบัดอย่างถูกวิธี

โรคซึมเศร้า เป็นอาการป่วยที่กลับมาได้ใหม่เสมอ หากผู้ป่วยเคยตกอยู่ในภาวะดังกล่าวแล้วครั้งหนึ่ง ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้เสมอ เราจึงควรโฟกัสที่การรักษาโรค แต่เป็นการขจัดอาการและป้องกันไม่ให้อาการดังกล่าวหวนกลับมา ลองหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่หลากหลาย และนําวิธีการต่างๆ ที่ได้มา ไปปรึกษาจิตแพทย์ประจําตัว เพื่อหาวิธีการรักษา ที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด แค่นี้ก็รู้สึกดีขึ้นนิดๆ แล้วใช่ไหมคะ ?

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

 

เรื่องน่าสนใจ