เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม

ลูกใต้ใบ หรืออาจเรียกว่า มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ), หญ้าใต้ใบ (นครสวรรค์ อ่างทอง ชุมพร), หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฎร์ธานี),ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หมากไข่หลัง (เลย), จูเกี๋ยเช่า (จีน) เติบโตได้ดีในพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย และยังกระจายอยู่ในหลาย ๆ ประเทศเขตร้อน ทั้งในบราซิล เปรู หมู่เกาะคาริบเบียน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ทวีปแอฟริกา

Egg Woman herb plant

ลูกใต้ใบ มีรสขมมาก พืชชนิดนี้หาไม่ยาก แต่คนมักไม่สนใจไม่รู้จัก จึงทำลายทิ้ง หากทราบประโยชน์ของมันอย่างนี้แล้ว คราวหน้าถ้าเห็น ก็ควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ แถมยังเป็นสมุนไพรยอดนิยมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพราะช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีประโยชน์ในการขับนิ่ว และลดความดัน 

สำหรับสาว ๆ ที่เป็นไข้ระหว่างมีประจำเดือน แนะนำให้นำต้นใต้ใบนี้มามัดรวมแล้วต้มดื่มน้ำ หรือนำหญ้าใต้ใบมาล้างน้ำให้สะอาด ตำละเอียดผสมสุรา คั้นเฉพาะน้ำยา กินครั้งละ 1 ถ้วยชาก็ได้ ข้อควรระวังก็คือ ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะลูกใต้ใบเป็นยาขับประจำเดือน

สรรพคุณแรก ๆ ของลูกใต้ใบที่คนรู้จักกันมากที่สุด คือ ใช้แก้ไข้ มันสามารถใช้แก้ไช้ได้ผลดีเยี่ยม ลูกใต้ใบ จึงมักเป็นสมุนไพรที่พระธุดงค์ มักพกติดตัวในยามออกธุดงค์ เพื่อแก้ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ลูกใต้ใบ ยังสามารถแก้ไข้จากการอ่อนเพลีย ไข้จับสั่น ได้อีก โดยวิธีการใช้จะนำลูกใต้ใบไปตากแห้งเก็บใส่โหลไว้ เพื่อชงเป็นชาดื่มเวลาเกิดอาการ

2gca5k

สรรพคุณและประโยชน์ของ “ลูกใต้ใบ”

  1. แก้ปวด แก้อักเสบ แก้ร้อนใน นอกจากลูกใต้ใบจะสามารถแก้ไข้ได้แล้ว
  2. แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย โดยนำลูกใต้ใบมาล้างน้ำ และสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง ต้มใส่หม้อดิน นำมาดื่มแทนน้ำชา ยังมีงานวิจัยพบว่า ลูกใต้ใบสามารถแก้อาการปวดข้ออาการอักเสบต่าง ๆ ได้
  3. บำรุงตับ ลดอาการตับอักเสบ สารสกัดจากลูกใต้ใบมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษ เช่น เหล้า ช่วยรักษาอาการอักเสบของตับทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบบี นอกจากนี้ยังช่วยปรับไขมันในตับให้เป็นปกติ และยังช่วยให้เซลล์มะเร็งตับเติบโตช้าลง แต่ไม่ได้ฆ่าเซลล์มะเร็งโดยตรง
  4. ควบคุมระดับน้ำตาล เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่า สารสกัดของลูกใต้ใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่มีข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานว่า ต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามแพทย์สั่ง และหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอด้วย
  5. ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ลดความดัน นอกจากนี้ยังนำลูกใต้ใบไปใช้รักษาอาการมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ลดอาการบวม ช่วยคนที่เป็นโรคเก๊าท์ขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ
  6. ขับประจำเดือน สำหรับคุณผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ ลูกใต้ใบ ยังเป็นยาชั้นดีในการช่วยขับประจำเดือนได้อีกด้วย โดยนำต้นลูกใต้ใบมาต้มกิน แต่หากประจำเดือนมามากกว่าปกติ ให้นำรากสดของลูกใต้ใบมาตำผสมกับน้ำซาวข้าวกินจะช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ส่วนผู้ที่เป็นไข้ทับระดู ก็นำลูกใต้ใบทั้ง 5 มาล้างน้ำสะอาด นำมาตำผสมเหล้าขาว คั้นเฉพาะน้ำยามาดื่นครั้งละ 1 ถ้วยชา
  7. แก้อาการนมหลง สำหรับหญิงที่คลอดบุตรแล้วน้ำนมเกิดหยุดไหล หลังจากเคยไหลมาแล้ว จะเกิดอาการปวดเต้านม ซึ่งเรียกว่า อาการนมหลง ถ้าปล่อยไว้อาจกลายเป็นฝีที่นมได้ ให้นำลูกใต้ใบทั้ง 5 จำนวน 1 กำมือมาตำผสมเหล้าขาว คั้นเอาน้ำ ดื่ม 1 ถ้วยชา แล้วเอากากพอก ก็จะช่วยให้น้ำนมไหลออกมาได้
  8. รักษาแผล ในอินเดียนิยมนำลูกใต้ใบมาตำพอก หรือตำแล้วคั้นเอาน้ำมาทารักษาแผลสด แผลฟกช้ำ แต่หากเป็นแผลเรื้อรังจะใช้ใบตำผสมน้ำซาวข้าวมาพอกได้
  9. แก้อาการคัน ตำใบของลูกใต้ใบผสมกับเกลือ แล้วนำมาทาจะช่วยแก้คันได้
  10. แก้เริม ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า ตำผสมกับเหล้าแล้วคั้นเอาน้ำยา จากนั้นใช้สำลีชุบน้ำยามาแปะตรงที่เป็นเริม เพื่อให้รู้สึกเย็น แล้วจะหายปวด
  11. แก้ฟกช้ำ แก้ฝี ใช้ต้นสด ๆ ตำผสมกับเหล้า แล้วนำมาพอกแก้ฟกช้ำ ปวดบวมได้
  12. ช่วยแก้อาการไอ ใบอ่อนใช้เป็นยาแก้ไอสำหรับเด็ก
  13. ช่วยแก้หืด ด้วยการใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำอุ่น แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2-3 อึก วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน
  14. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกิน
  15. ช่วยขับเหงื่อ โดยใช้หญ้าใต้ใบ นำต้มกิน และยังช่วยลดไข้ได้ด้วย
  16. ช่วยขับเสมหะ

รูปต้นลูกใต้ใบ

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะลูกใต้ใบเป็นยาขับประจำเดือนซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับหญิงมีครรภ์ได้
  2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับควรศึกษาให้ละเอียด และปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ยาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบัน หรือยาสมุนไพร เพราะอาจเกิดผลไม่ดีต่อสุขภาพได้

ลูกใต้ใบ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่เหมาะสมกับบางบุคคลเช่นกัน เพราะฉะนั้น โดดเด่นขอแนะนำว่า การจะหาสมุนไพรชนิดไหนมารับประทาน ควรหมั่นตรวจสอบสุขภาพตัวเองสักนิดนะคะ ว่าร่างกายของเราแพ้อะไรหรือเปล่า บางครั้งอาจได้ปนะโยชน์กับคนอื่น แต่อาจจะให้โทษกับเราก็ได้

ข้อมูลจาก wikipedia, kapook, ความรู้เรื่องอาหารและสุขภาพ,

เรื่องน่าสนใจ