วินิจฉัยมะเร็งรังไข่ ด้วย MRI เพิ่มโอกาสหายได้มากกว่า 90% จากข่าวที่นักแสดงสาวท่านหนึ่งป่วยด้วยโรคมะเร็งรังไข่ ทําให้หลายคนหันมาใส่ใจ และให้ความสําคัญกับการดูแลตัวเองมากขึ้น แม้ว่ามะเร็งรังไข่นี้ จะพบได้ไม่บ่อยนัก เมื่อเทียบกับมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก แต่ในบรรดาโรคมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงแล้ว มะเร็งรังไข่มีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากเป็นอันดับต้นๆ

วินิจฉัยมะเร็งรังไข่
ภาพจาก verywellhealth.com

วินิจฉัยมะเร็งรังไข่ ด้วย MRI เพิ่มโอกาสหายได้มากกว่า 90%

มะเร็งรังไข่ สามารถจําแนกชนิดตามตําแหน่งเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งได้ 3 กลุ่ม คือ

มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ (Epithelial Tumors)
เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 90% ของมะเร็งรังไข่ มักพบในสตรีวัยหมดประจําเดือน หรืออายุ 55 ปีขึ้นไป

มะเร็งฟองไข่ (Germ Cell Tumors)
พบได้ร้อยละ 5 – 10 ของมะเร็งรังไข่ มักพบในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี

มะเร็งเนื้อรังไข่ (Sex CordStromal Tumors)
โอกาสพบน้อยมาก เมื่อเทียบกับ 2 ชนิดแรก

วินิจฉัยมะเร็งรังไข่
ภาพจาก independent.co.uk

นอกจากจะไม่ทราบถึงสาเหตุของโรคที่แน่ชัดแล้ว มะเร็งรังไข่ ยังตรวจพบได้ค่อนข้างยาก บางครั้งกว่าจะรู้ตัวก็อยู่ในระยะท้ายๆ ของโรคแล้ว ดังนั้น คุณผู้หญิงต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะหากมีอาการต่อไปนี้ ให้สงสัย และรีบปรึกษาแพทย์

  • ท้องอืดเป็นประจํา, เบื่ออาหาร, ผอมแห้ง, น้ำหนักลด
  • มีก้อนในช่องท้อง หรือช่องเชิงกราน จึงอาจทําให้เกิดอาการแน่น หรือปวดท้อง
  • ก้อนเนื้ออาจกดเบียดลําไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทําให้รู้สึกปวดถ่วง ถ่ายอุจจาระไม่สะดวกหรือลําบาก
วินิจฉัยมะเร็งรังไข่
ภาพจาก link.springer.com
  • เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้น จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทําให้ถ่ายปัสสาวะบ่อย และขัด
  • เมื่อเซลล์มะเร็งมีการกระจายไปในช่องท้อง อาจทําให้เกิดน้ำในช่องท้อง ทําให้ดูเหมือนอ้วนขึ้น ท้องโต
  • ในบางรายอาจไม่แสดงอาการเลย แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญว่ามีก้อนในท้องน้อย

ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่นั้น จะไม่มีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยาเหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ เนื่องจาก อาจเกิดผลข้างเคียงจากการตัดชิ้นเนื้อได้ แพทย์จะใช้การซักประวัติ และเฝ้าสังเกตอาการ รวมถึงตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์, เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ PET/CT และตรวจผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยเครื่อง MRI เพื่อดูการกระจายตัวของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง, ลําไส้, เยื่อบุ ช่องท้อง, ตับ ร่วมกับการเจาะเลือด

………………………………………………………………..

เครื่อง MRI มีความไวมากในการตรวจภาพของก้อนเนื้องอก หรือมะเร็งในอุ้งเชิงกราน เช่นเดียวกับในช่องท้อง และยังสามารถสร้างภาพก้อนเนื้องอกได้อย่างชัดเจน จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะการตรวจอวัยวะในระบบสืบพันธุ์สตรี นั่นก็คือมดลูกและรังไข่ อีกทั้งสามารถตรวจ ได้ในสตรีมีครรภ์และในเด็ก โดยไม่มีอันตรายใดๆ ผู้ที่รู้สึกถึงความผิดปกติ จึงควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อทําการตรวจวินิจฉัย และรักษาได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีโอกาสหายได้มากกว่า 90%

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ