ที่มา: dodeden

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยา และ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า จากกรณีที่มีการส่งแชร์ข้อมูลทางสื่อออนไลน์เตือนภัยวัยรุ่นติดยาทรามาดอล ทำสมองเสื่อมและเดินไม่ได้ นั้น

สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการนำยาทรามาดอลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยยาทรามาดอล (Tramadol) จัดประเภทเป็นยาอันตราย ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวด ชนิดรุนแรง ปานกลาง ถึงรุนแรงมากกำหนดให้จำหน่ายในร้านขายยา แผนปัจจุบันที่ได้รับอนุญาตและต้องส่งมอบยาโดยเภสัชกร

โดยผู้รับอนุญาตขายยาและเภสัชกร ต้องร่วมกันจัดทำบัญชีการซื้อ ขายที่ถูกต้อง เป็นจริง และเป็นปัจจุบัน สำหรับเภสัชกรจะต้องส่งมอบยาตามจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยไม่จ่ายยาให้กับผู้ที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และจ่ายในปริมาณที่เหมาะสมไม่เกิน 20 เม็ด ต่อครั้ง

และห้ามจำหน่ายให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีเพื่อป้องกันการน ายาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์เนื่องจากยากลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงสูง ได้แก่ ทำให้มีอารมณ์แปรปรวน, มึนงง, เคลิ้ม, เฉื่อยชา

ที่สำคัญหากได้รับยาเกินขนาดจะทำให้เกิดภาวะอื่น ๆ ตามมา เช่น รูม่านตาหด , ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานล้มเหลว , ชัก , ระบบการหายใจทำงานช้าลงจนอาจถึงขั้นหยุดหายใจ อาจทำให้ช็อกถึงแก่ ชีวิตได้

ทั้งนี้ หากร้านขายยาใดฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย รวมทั้งพิจารณาพักใช้ใบอนุญาตขายยาเป็นเวลา  120 วัน ต่อไป กรณีเภสัชกร ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ วิชาชีพจะส่งเรื่องให้สภาเภสัชกรรมพิจารณาพักใช้หรือเพิก ถอนใบประกอบวิชาชีพด้วย มาตรการดังกล่าวจัดทำขึ้น เพื่อควบคุมไม่ให้มีการใช้ยาทรามาดอลในทางที่ผิด

อย่างไรก็ตามยาทรามาดอลเป็นยาที่ประชาชนบางส่วนมีความจำเป็นต้องใช้ อย.จึงต้องคำนึงถึงการเข้าถึงยาของประชาชนด้วย การควบคุมก ากับดูแลใด ๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบด้าน

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้ปกครองและประชาชนผู้บริโภคช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบร้านขายยาใด ๆ ขายยาทรามาดอลให้แก่เยาวชน หรือขายยาดังกล่าวโดยไม่มีเภสัชกรประจำร้าน

ขอให้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ อีเมล์: [email protected] หรือส่งจดหมายไปที่ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี11004

หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วย ตัวเอง ที่ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) อย. ได้ทุกวันในเวลาราชการ เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

เรื่องน่าสนใจ