ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากผลการสำรวจภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางปี 2556 โดยโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ พบว่าคนไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปจำนวน 100 คน มีความชุกตาบอด 0.6 คน แต่ถ้าตรวจ 1,000 คนจะพบคนตาบอดถึง 6 คน โดยกว่าร้อยละ 70 มีสาเหตุมาจากภาวะต้อกระจก

EyWwB5WU57MYnKOuXxzp4nWJDRApj2eecZifblRk1vPybcQnSxoolPภาพประกอบจาก ไทยรัฐ

ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยต้อกระจกตกค้างยังไม่ได้รับการผ่าตัดมากถึง 70,000-100,000 คน ขณะเดียวกันก็มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวันๆ แม้ว่าในช่วง 3-7 ปีที่ผ่านมา สธ.ได้ร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้องเร่งระดมจักษุแพทย์ทั่วประเทศช่วยทำการผ่าตัดผู้ที่ยังตกค้างอยู่ แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือผู้สูงอายุในชนบทอายุ 70-80 ปี ยังเข้าถึงการตรวจดวงตาได้น้อยจนทำให้ต้องสูญเสียดวงตา ดังนั้น สธ. จึงตั้งเป้าผ่าตัดต้อกระจกชนิดบอด 60,000 ราย ใน 1 ปี ภายใต้โครงการสาธารณสุขรวมใจมอบโลกสดใสเทิดไท้องค์ราชัน ซึ่งขณะนี้สามารถผ่าต้อกระจกไปได้แล้วกว่า 35,000 ราย

ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่า สำหรับภาคที่พบปัญหามีผู้ที่ตาบอดมากที่สุดคือภาคอีสาน โดยมีปัจจัยมาจากการดำเนินชีวิต เช่น การทำงานในที่มีแดดจ้า ชาวนา ชาวไร่ ทำให้มีโอกาสตาบอดและเป็นต้อกระจกมากกว่าคนในเมือง นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดต้อกระจกคือการใช้ยา เช่น ยาสเตียรอยด์ โดยคนกลุ่มที่รับประทานยาที่มีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์มากๆ จะทำให้เป็นต้อกระจก และเกิดภาวะตาบอดได้ในที่สุด เป็นต้น.

เรื่องน่าสนใจ