เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม

“เพชรสังฆาต” เป็นไม้เลื้อยในวงศ์องุ่น มีชื่อเรียกอื่นๆคือ สันชะควด (กรุงเทพฯ) ขั่นข้อ (ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) เปลือกเถาเรียบ สีเขียว รูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ตรงข้อเล็กรัดตัวลง แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย มีมือเกาะออกตรงข้อต่อตรงข้ามกับใบ ตามข้อมียางขาวมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก

Cissus-quadrangularis-4

เพชรสังฆาต ถือเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งในวิตามินซีนั้นก็มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถช่วยลดอาการอักเสบ รวมทั้งช่วยให้หลอดเลือดดำหดตัวลงได้อีกด้วย ซึ่งสำหรับคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร จะเกิดภาวะเลือดดำคั่งจนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก การรับประทานเพชรสังฆาตจึงช่วยบรรเทาอาการได้ รวมทั้งรักษาอาการอักเสบและทำให้หลอดเลือดดำที่บวมเป่งอยู่บริเวณทวารหนักหดตัวลงได้นั่นเอง ซึ่งการศึกษาจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ยังยืนยันถึงข้อดีของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตในการรักษาโรคริดสีดวงทวารว่ามีสรรพคุณเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน หรือยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเลย

ประโยชน์ของ “เพชรสังฆาต”

สรรพคุณของเพชรสังฆาตที่น่าสนใจ ก็คงจะเป็นสรรพคุณทางยาที่ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แต่อีกหนึ่งสรรพคุณอันโด่งดังของเพชรสังฆาตก็คือ “รักษาโรคริดสีดวงทวาร” นั่นเอง ซึ่งสรรพคุณที่ว่ามานี้ต่างก็มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเพชรสังฆาต รวมไปถึงน้ำจากต้นของเพชรสังฆาตค่ะ

  • ราก – ช่วยในการสมานตัวของกระดูกที่แตกหัก  ทำให้กระดูกกลับมาเชื่อมต่อกันได้เร็วขึ้น
  • ต้น – แก้อาการหูน้ำหนวก แก้อาการเลือดกำเดา รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติในสตรี ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
  • ใบ – ช่วยในการสมานตัวของกระดูกเช่นเดียวกับราก รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ช่วยขับน้ำเหลืองที่เสีย
  • เถา – แก้กระดูกหักซ้น ขับลม แก้จุดเสียดแน่นท้อง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคลักปิดลักเปิด

800px-Cissus_quadrangularis_W_IMG_3196

งานวิจัยของ พญ. ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะ  ได้ประเมินประสิทธิภาพของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจำนวน 121 คน เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันอย่าง ดาฟลอน (Daflon) โดยผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของการประเมินผลของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับยาดาฟลอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และที่สำคัญยังพบว่าค่าใช้จ่ายของยาแคปซูลเพชรสังฆาตถูกกว่ายาดาฟลอนถึง 20 เท่าอีกด้วย ผลการวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าแคปซูลเพชรสังฆาตสามารถใช้ทดแทนยาดาฟลอนในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้เป็นอย่างดี

มีงานวิจัยอีกว่า เพชรสังฆาตมีส่วนประกอบของวิตามินซีในขนาดสูง และมีแคโรทีน เอ ซึ่งคาดกันว่าทำให้เพชรสังฆาตมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้ยังมี อนาโบลิกสเตียรอยด์ และแคลเซียม ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยเร่งปฏิกิริยา การหายหรือสมานกระดูกที่แตกหัก โดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก นอกจากนี้เพชรสังฆาตยังมีคอลลาเจน แคลเซียม และที่สำคัญ ยังมีการวิจัยในหญิงวัยทอง ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย พบว่าเพชรสังฆาตช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกในหญิงวัยทองได้

Cissus_quadrangularis_W2_IMG_3196

เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์ก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะในเถาของเพชรสังฆาตนั้นมีสารแคลเซียมออกซาเลทสูง (Calcium Oxalate) จึงอาจทำให้เกิดการตกค้างได้หากรับประทานมากเกินไป อีกทั้งสารออกซาเลทนั้นยังอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองที่คอและเยื่อบุภายในปาก ดังนั้นหากจะนำเถาของเพชรสังฆาตมารับประทานสด ๆ ควรนำหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ หุ้มด้วยกล้วยสุด หรือมะขามเปียก หรือจะเป็นใบผักกาดดองก็ได้ แล้วค่อยรับประทาน และห้ามเคี้ยวโดยเด็ดขาด แต่ถ้าจะให้สะดวกยิ่งกว่านั้นก็สามารถรับประทานแบบที่เป็นแคปซูล วิธีนี้ก็ยังทำให้ได้คุณประโยชน์จากเพชรสังฆาตเช่นเดียวกับการรับประทานแบบสด ๆ ค่ะ

ภาพและข้อมูลจาก : บุ๊คเหมย, wikipedia, kapook, ไทยสมุนไพร

เรื่องน่าสนใจ