การออกกำลังกาย แบบ แอโรบิค และแบบ แอนแอโรบิค คำศัพท์เหล่านี้ที่มักได้ยินทั่วไปไม่ว่าจะตามคลาสปั่นจักรยานในร่ม หรือศูนย์ฟิตเนสอื่น ๆ ซึ่งอาจจะสร้างความงงงวยให้กับใครหลายคน  มาดูกันว่าความแตกต่างของการออกกำลังกายทั้งสองแบบนี้ คืออะไรกันค่ะ!

เจาะลึกการออกกำลังกาย
3backgrounds.com

มาดูข้อแตกต่างระหว่าง การออกกำลังกาย แบบ แอโรบิค และแบบ แอนแอโรบิค

ระหว่างการออกกำลังกายในช่วงปานกลางถึงหนัก เช่น การปั่นจักรยานอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะต้องทำงานอย่างหนักถึงขั้นที่ว่า ระบบหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถขนส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อได้รวดเร็วพอ นั่นหมายถึงว่า คุณกำลังออกกำลังกายในโซนแอนแอโรบิคแล้ว หากคุณออกแรงจนถึงจุดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอกับความต้องการ แสดงว่าคุณได้ผ่านจุดที่เป็นระดับสูงสุดของการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค จะพบว่าตนเองหอบและสามารถคงระดับความหนักได้เพียงช่วงนั้นๆ 

ในทางตรงกันข้าม ระหว่างช่วงการออกกำลังกายแบบแอโรบิค คุณจะออกกำลังกายด้วยระดับความหนักที่กำลังพอดี นั่นหมายถึงว่า ระบบหลอดเลือดหัวใจของคุณ จะสามารถส่งออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อ และคงระดับการออกกำลังกายขณะนั้นต่อไปได้เรื่อยๆ โดยอย่าลืมว่า ระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายของคุณจะได้พลังงานจากไขมันสะสม (หรือกรดไขมัน) และคาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาลในเลือด และไกลโคเจนสะสม

เจาะลึกการออกกำลังกาย
lifestylexpert.com

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

อัตราการเต้นของหัวใจ : 60-80 เปอร์เซนต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
ระยะเวลาและช่วงพัก : ปกติรอบละ 15 นาที ตามด้วยการพักช่วงสั้น ๆ
ท่าออกกำลังกาย : ท่านั่งและยืนขณะปั่นอย่างเร็ว ท่านั่งและยืนแบบปีน ท่ากระโดด
แหล่งพลังงานที่ใช้ : เมื่อออกกำลังออกกำลังไม่หนักมาก ร่างกายจะใช้พลังงานจากไขมันสะสมและคาร์โบไฮเดรต ในขณะที่เมื่อออกกำลังกายอย่างหนักในระดับแอโรบิค ร่างกายก็จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากไขมันสะสมที่เป็นแหล่งพลังงานในระยะยาวได้ดี
ประโยชน์ที่ได้รับ : พัฒนาสมรรถภาพของหลอดเลือดหัวใจ และสร้างความอึด เพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และเผาผลาญแคลอรี่จำนวนมาก เป็นการลดน้ำหนักได้อีกด้วย

 

เจาะลึกการออกกำลังกาย
articflex.com

การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค

อัตราการเต้นของหัวใจ : 80-92 เปอร์เซนต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด หรือก็คือออกแรงอย่างเต็มที่นั่นเอง
ระยะเวลาและช่วงพัก : ปกติรอบละ 30 นาที ตามด้วยช่วงพักฟื้น
ท่าออกกำลังกาย : การวิ่ง ท่าปั่นอย่างรวดเร็วขึ้นเนินเขา หรือบนทางราบ ปั่นแบบจับเวลา ปั่นแข่งขัน หรือHIIT
แหล่งพลังงานที่ใช้ : ใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก สามารถใช้ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ดีแต่ก็หมดเร็ว ทำให้เหนื่อยได้ค่อนข้างไว
ประโยชน์ที่ได้รับ : สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอึด ช่วยให้คุณออกแรงหนักๆ ได้นานขึ้น และเผาผลาญแคลอรี่ได้มากจากความหนักที่มากขึ้น อย่าลืมว่าคลาสปั่นจักรยานในร่ม ประกอบไปด้วยการผสมผสานระหว่างการออกกำลังกายแบบทั้งแบบแอโรบิค และแอนแอโรบิคสลับช่วงกันไปมา จึงถือว่าเป็นคลาสที่น่าลองมากเลยทีเดียวค่ะ

ดังนั้น มันก็เป็นไปได้ค่อนข้างยากที่คุณจะออกกำลังไปแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว นั่นก็ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะคุณจะได้ฝึกทั้งความไว กำลัง และความแข็งแรงในโซนการใช้พลังงานทั้งสองแบบ 

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ