ที่มา: nstda.or.th

โบท็อกซ์ทำงานอย่างไร จึงสามารถยับยั้งรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าได้ ในยุคสมัยที่แนวโน้มของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น คนจะมีอายุยืนยาวด้วยวิทยาการความก้าวหน้า ทางการแพทย์ บวกกับวิทยาการด้านการเสริมความงามที่ก้าวหน้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแพทย์ จึงทําให้คนที่แม้จะมีวัยสูงอายุมากขึ้น แต่กลับมีใบหน้าที่สวยใส เต่งตึง ไม่ต่างจากวัยรุ่น จนเกือบจะกลายเป็นสังคมสาวสองพันปี ที่ไม่มีวันแก่ไปตามวัย และที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งอาจมาจากนวัตกรรมท่ีชื่อว่า โบท็อกซ์

โบท็อกซ์ทำงานอย่างไร

 

โบท็อกซ์ทำงานอย่างไร จึงสามารถยับยั้งรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าได้

โบท็อกซ์ คือ สารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า โบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin) เป็นสารพิษที่สร้างขึ้นโดยแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) โดยจะสร้างขึ้นเฉพาะช่วงที่มีการสร้างสปอร์ และจะเกิดในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเท่านั้น สารพิษชนิดนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (neurotoxin) โดยจะไปรบกวนการทํางานของระบบประสาท ทําให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตชั่วคราว

กลไกการทํางานของโบท็อกซ์ ทําอย่างไรให้หน้าตึง

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารพิษโบทูลินัม ท็อกซิน เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2487 โดยได้มีการสกัดแยก สารโบทูลินัม ท็อกซิน เพื่อศึกษากลไกการทํางานของสารพิษชนิดนี้ โดยพบว่าสารพิษจะไปสกัดกั้นการหลั่งของสารสื่อประสาทอะซิทิลโคลีน (acetylcholine) จากปลายประสาทในกล้ามเนื้อลาย เนื่องจากในภาวะปกติ กล้ามเนื้อจะทํางานตามการสั่งงานจากเซลล์ประสาท แต่เมื่อเซลล์ไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ กล้ามเนื้อจึงขาดการรับรู้การสั่งงานจากเซลล์ประสาท ทําให้กล้ามเนื้อไม่มีการหดตัว เกิดการคลายตัว หรือเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อส่วนนั้น

โดยทั่วไป การฉีดโบท็อกซ์เพื่อความงาม จะนิยมทําในสามส่วน คือ ส่วนเหนือคิ้ว (Upper third
treatment) ส่วนบริเวณตีนกา (Mid and lower thirds treatment) และส่วนด้านล่างของปากและลําคอ (Lower third and neck)

ผลเสียและผลข้างเคียงการใช้โบท็อกซ์

โบท็อกซ์เป็นสารที่มีความปลอดภัยในด้านความสวยความงาม หากมีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่บางครั้งอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นหลังการฉีด เช่น รอยช้ำ ปวดหัว หรือผิวหนังแห้งในบริเวณที่ดี บางครั้งอาจมีอาการเปลือกตาหย่อน เปลือกตาล่างแบะออก ตาสองข้างมองไปคนละทิศ และการที่กล้ามเนื้อติดกันหรือคิ้วผิดตําแหน่ง

……………………………………………………………

หลังจากที่มีการศึกษาจนทราบกลไกการทํางานของสารโบทูลินัม ท็อกซิน จึงเริ่มมีความพยามยามที่ จะใช้สารชนิดนี้ในการรักษาทางการแพทย์ โดยในครั้งแรก มีความพยายามนํามาใช้ในการรักษาภาวะผิดปกติในกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อตา ซึ่งทําให้เกิดอาการตาเหล่ ตาเข และ โรคไข้แหงน (dystonia) ซึ่งเป็นอาการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ ทําให้อวัยวะผิดรูป ในปี พ.ศ. 2535 จึงได้มีการนํามารักษาโรคอื่นๆ เช่น โรค เหงื่อออกมากผิดปกติ โรคไมเกรน และอาการปวดหลังส่วนล่าง

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น
ศัลยกรรม
webdodeden

 

เรื่องน่าสนใจ