หลายๆคนคงจะงงกันว่าทำไม สองพี่น้อง เจ้านางละอองคำ กับเจ้านางรุ้งแก้ว เดินทางล่องเรือจากเมืองนายมาถึงสยาม ยุคสมัยถึงได้เปลี่ยนไปไวขนาดนั้น การแต่งกายมีความแตกต่างและทันสมัยมากขึ้นอย่างชัดเจน จึงกลายเป็นข้อสงสัยที่ทุกคนอยากรู้  วันนี้เราจะมาตอบคำถามกันค่ะ ว่าแท้จริงแล้ว “เมืองนาย” กับยุค “รัชกาลที่ 7” ในละคร เจ้านาง คือยุคเดียวกันหรือไม่?

ในยุครัชกาลที่ 7 การแต่งกายได้รับอิทธิพลมาจากชาวยุโรป แบบเสื้อสตรี คือเสื้อตัวหลวมไม่เข้ารูป ยาวคลุมสะโพก แขนเสื้อสั้นมากหรือไม่มีแขน ถึงแบบเสื้อจะเป็นฝรั่งอย่างไร แต่สตรีสมัยนั้นก็ยังไม่กล้าพอจะแต่งอย่างแหม่ม ยังคงนุ่งกระโปรงในลักษณะนุ่งผ้าซิ่นไว้ แต่เปลี่ยนมาตัดเย็บเป็นถุงสำเร็จแทน ทรงผมสตรีสมัยนี้ไม่นิยมไว้ผมบ๊อบแบบครั้งรัชกาลที่ 6 แต่จะดัดผมเป็นคลื่น และหวีเรียบร้อย เรียกกันว่า ”ผมคลื่น” อย่าง “ละอองคำ”และ “รุ้งแก้ว” ได้เปลี่ยนการแต่งตัวอย่างชัดเจน ต่างกับตอนอยู่ที่เมืองนาย ดูทันสมัยมากขึ้นด้วยชุดผ้าซิ่น ผมจากม้วนรวบตึงเปลี่ยนมาปล่อยผม เหมือนกับอยู่คนละช่วงสมัยกับเมืองนาย ซึ่งแท้จริงแล้วทั้ง 2 ยุคคือช่วงเวลาเดียวกัน นั่นคือช่วงเวลาในยุคร. 7 แต่คนละเมืองเท่านั้นเอง

วันนี้เราก็มีภาพการแต่งกายในยุครัชกาลที่ 7 สวยๆจากละครมาให้ชมกันด้วยค่ะ ไปชมกันเลย

jaonang01

jaonang02

jaonang03

jaonang04

 

jaonang06

jaonang07

jaonang08

ป้ายกำกับ:

เรื่องน่าสนใจ