เนื้อหาโดย Dodeden.com

เป็นเรื่องปกติที่ช่วงนี้ไม่ว่าห้างร้านไหนๆ ต่างก็มีโปรโมชั่นออกมาล่อเงินในกระเป๋าเรากันมากมาย แต่มวลหมู่นักช้อปฯ ก็มากตามไปด้วย จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าคุณหลายคนได้ปันใจไปช้อปปิ้งออนไลน์แทน เพราะนอกจากจะสะดวก ไม่ต้องไปแย่งกันซื้อ บางครั้งราคาสินค้าออนไลน์จะประหยัดกว่าการไปซื้อที่ร้านในห้างสรรพสินค้าอยู่ประมาณนึงเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้การช้อปฯ ออนไลน์นั้น คุณก็จําเป็นต้องใช้เงินพลาสติก-เครดิตการ์ด หรือทําการโอนเงินเพื่อ จ่ายราคาสินค้า ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงอยู่พอตัว เพราะหัวขโมยในยุคไซเบอร์นี้มากันทุกรูปแบบ แถมฉลาดล้ำด้านเทคโนโลยี (การขโมย) ชนิดที่เราๆ ตามกันแทบไม่ทัน! แต่เราก็มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยปกป้องเงินในกระเป๋าของคุณมาฝากเช่นเคยค่ะ มาดูกันเลย !

เปลี่ยนรหัสผ่านอยู่สม่ำเสมอ
คําแนะนําพื้นๆ ที่ทุกสถาบันการเงินแนะนําอยู่ตลอดมา คือเปลี่ยนรหัสผ่าน (password) ทุกๆ 3 เดือน หรือ 6 เดือนอย่างต่ำ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็นับว่าช่วยป้องกันได้ดีอยู่

ลิงค์โทรศัพท์กับบัญชีธนาคาร
ในปัจจุบัน ธนาคารต่างๆ มักมีตัวเลือกนี้บังคับใช้เพื่อความปลอดภัยอยู่แล้ว กล่าวคือการทําธุรกรรมการเงินใดๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชั่นนั้น ทางระบบธนาคารจะส่งข้อความรหัสพิเศษไปยังโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อทําการยืนยัน ทั้งนี้หากคุณไม่มีการตั้งระบบนี้ แนะนําให้ทําโดยด่วน เพราะนอกจากจะป้องกันการโอนเงินออก (โดยหัวขโมย) แล้วยังป้องกันการขโมยทั้งบัญชีได้อีกด้วย

อย่าพยายามล็อคอินอีกครั้ง ถ้าครั้งเเรกไม่ผ่าน
การโจรกรรมอินเตอร์เน็ตแบบที่เจ้าโจรหัวใสทําสกรีนหลอกๆ ที่หน้าตาเหมือนโฮมเพจ หรือหน้าแอปพลิเคชั่นของธนาคารชนิดแยกไม่ออก โดยจะทําการสวมสกรีนนี้ทับหน้าจอของคุณ ครั้งแรกที่คุณกดไม่ผ่านเพราะโจรกําลังทําการสวมสกรีนอยู่ พอคุณพยายามล็อกอินอีกที คราวนี้โจรก็จะบันทึกรหัสผ่านคุณเต็มๆ หากเจอกรณีนี้ขอให้อย่าล็อกอินอีกรอบ แต่โทรสอบถามทางธนาคารทันที เพราะโดยปกติแล้วหากมีการซ่อมแซมระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ทางธนาคารเขาจะต้องแจ้งลูกค้าก่อนอยู่แล้ว

วางหูทันทีหากเจอสายโทรศัพท์ไม่น่าไว้วางใจ
จากข้อมูลของหน่วยรักษาความปลอดภัยและสํานักงานตํารวจในหลายประเทศ มีการแจ้งว่าหัวขโมยเหล่านี้มีวาทศิลป์และจิตวิทยาเป็นเลิศ คุณจะเคลิ้มและไว้ใจคู่สาย (โจร) จนลืมไปเลยว่าบอกข้อมูลการเงินไปหมดแล้ว หากได้รับสายแปลกๆ และไม่ชัวร์ตั้งแต่ประโยคแรกที่คุยให้รีบวางทันที

และที่สำคัญ การใช้ระบบคีย์บอร์ดหน้าจอเสมือนจริง (On Screen or Virtual Keyboard) จะสามารถบันทึกข้อมูลจากการจิ้มพิมพ์คีย์บอร์ดได้ (Key-logger) ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการแฮ็คข้อมูลได้ 100% แต่ก็นับว่าช่วยป้องกันได้ระดับหนึ่งเลยค่ะ

 

เรื่องน่าสนใจ