ที่มา: chularat3.com

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร ตรวจพบไว รักษาได้ทัน ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าผู้คนเริ่มให้ความสนใจในเรื่องโรคมะเร็งมากขึ้น ทั้งในแง่ของการรักษา และการเฝ้าระวัง เช่นเดียวกับ มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีหลายชนิด เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของคนเรานั้น ประกอบด้วยการทํางานของหลายอวัยวะ เริ่มตั้งแต่ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลําไส้เล็ก ลําไส้ใหญ่ ไปจนถึงทวารหนัก

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร
ภาพจาก singlecare.com

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร ตรวจพบไว รักษาได้ทัน

นอกจากนี้ ยังมีอวัยวะอื่นๆ ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหารอีก เช่น ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี และท่อทางเดินน้ำดี ดังนั้น อาการที่นํามาของโรคมะเร็งในระบบนี้ จึงขึ้นกับตําแหน่งที่เกิดโรคเช่น การกลืนอาหารลําบาก อาการปวดท้อง การขับถ่าย ที่ผิดปกติ การมีตาเหลืองขึ้น หรือภาวะดีซ่าน ซึ่งเป็นอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลําไส้ใหญ่  มะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ตามลําดับ นอกจากนี้ ยังมีอาการโดยรวมที่พบได้ในโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด คืออาการเบื่ออาหาร ทานอาหารได้ลดลง และภาวะน้ำหนักที่ลดลง

 

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร
ภาพจาก fronzutolaw.com

มะเร็งตับ
เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ และเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเรื้อรัง นํามาสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แม้ว่าความก้าวหน้าของการรักษาจะดีขึ้นมาก แต่พบว่าผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่อ การดําเนินโรคไปไกลแล้ว ทั้งนี้หากพบโรค ในระยะเริ่มต้น สำหรับการเฝ้ามะเร็งตับนั้นในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย กลุ่มแพทย์สหสาขาได้แก่ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร,อายุรแพทย์โรคมะเร็ง,ศัลยกรรมแพทย์และรังสีแพทย์ ได้มีแนวทางร่วมกันในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ โดยดูจากกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ กลุ่มผู้ทีเป็นโรคตับแข้งและกลุ่มที่ยังไม่ตับแข็ง คือ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับ และผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ที่มีพังผืดในตับอย่างน้อยระดับ 3 โดยคนกลุ่มนี้ควรได้รับการทำอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบนอย่างน้อยทุก 6-12 เดือนหรือร่วมกับการตรวจเลือดดูระดับAFP(Alfa-fetoprotein)อย่างน้อย 6-12 เดือน

 

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร
ภาพจาก vectorstock.com

การที่จะทราบว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับหรือไม่นั้น สามารถสังเกตได้จากอาการบางอย่าง โดยผู้ที่เป็นโรคตับแข็งอาจมีอาการตาเหลือง ท้องโตหรือท้องมานมีจุดเส้นเลือดคล้ายใยแมงมุมขนาดเล็กที่บริเวณหน้าอก แต่ผู้ทีเป็นโรคตับแข็งในระยะต้น หรือกลุ่มผู้ที่ยังไม่ป็นโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนให้ดูจากความเสี่ยง เช่น การดื่มสุรา การเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เหล่านี้ต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติม เช่น การซักประวัตคิและตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจเลือดดูจากการทำงานของตับ การตรวจเลือดค้นหาไวรัสตับอักเสบบีและซีทำอัลตร้าซาวน์ตับ และหากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ควรเริ่มรักษาความเสี่ยง โดยการรักษาไวรัสตับอักเสบ ที่ตรวจพบการเลิกดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเข้าสู่กระบวนการเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับตามวิธีกล่าวไปข้างต้น

 

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร
ภาพจาก verywellhealth.com

และหากคัดกรองแล้วพบสิ่งที่สงสัยมะเร็งตับ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ ซึ่งหลายวิธีทั้งการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ ด้านการรักษามะเร็งตับในปัจจุบันหากคัดกรองพบโรคระยะต้นๆ การรักษาจะมุ้งเน้นเพื่อโอกาสของการหายขาด หรือการมีอายุที่ยืนยาวขึ้น เช่น การผ่าตัดตับการเปลี่ยนตับ แต่หากตรวจพบในระยะที่โรคดำเนินไปไกลแล้ว เป้าหมายของการรักษาคือเพื่อควบคุม เช่นการทำลายก้อนมะเร็งตับเฉพาะที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค สภาพการทำงานของตับ และสภาวะของผู้ป่วย โดยบางรายอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน

 

ภาพจาก globalremedyhouse.com

มะเร็งลำไส้ใหญ่
เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร คือพบเป็นอันดับต้นๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ที่เป็นมะเร็งนี้ในระยะเริ่มต้น อาจไม่มีอาการที่ชัดเจน ทำให้โรคดำเนินไปจนถึงระยะที่แสดงอาการ  เช่น การขับถ่ายที่ผิดปกติ ถ่ายลำบาก มีมูกเลือดปนในอุจจาระ อาจมีอาการปวดท้อง เบื่อหารและน้ำหนักลด
สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีทั้ง ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่น การมีประวัติบุคคลครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ การเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังบางชนิด และปัจจัยเสี่ยงทางด้านภาวะแวดล้อม เช่น ภาวะอ้วน การบริโภค เนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป และการสูบบุหรี่ การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธีเช่น การตรวจหาเลือดออกแฝงในอุจจาระ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้หากพบว่าผลเป็นบวกควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป การส่องกล้องลำไส้ใหญ่สามารถตรวจหาติ่งเนื้อได้ตลอดทั้งลำไส้ใหญ่  และหากพบรอยโรคผิดปกติ หรือติ่งเนื้อ ก็สามารถตัดชิ้นเนื้อหรือติ่งเนื้อออกได้ทางกล้อง  และนำไปตรวจทางพยาธิต่อไป

 

ภาพจาก coloncancernewstoday.com

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่
ข้อดีคือ ตรวจลำไส้ใหญ่ได้ตลอดลำไส้เห็นพยาธิสภาพนอกลำไส้ใหญ่ได้ตลอดลำไส้  หากพบติ่งเนื้อ หรือรอยโรคที่ผิดปกติ จากการตรวจด้วยวิธีนี้ ควรได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เพื่อตัดติ่งเนื้อหรือตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิ และทำการรักษาต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการตรวจหาดีเอ็นเอที่ผิดปกติในอุจจาระ
ซึ่งคัดกรองในกลุ่มบุคคลทั่วไป สามารถเริ่มตั้งแต่อายุ 50-85 ปี โดยการเลือกวิธีตรวจคัดกรองแบบใดนั้น ขึ้นกับการตัดสินใจของผู้ป่วย ร่วมกับความเห็นของแพทย์ และความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย โดยความถี่ของการตรวจขึ้นกับชนิดของวิธี การตรวจ  เช่น แนะนำตรวจหาเลือดออกแฝงในอุจจาระทุก 1 ปี  ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ทุก 5 ปี หรือการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก 10 ปี แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยที่เสี่ยงสูง  เช่น โรคมะเร็งพันธุกรรม หรือลำไส้อักเสบเรื้อรังควรเข้ารับการตรวจคัดกรองให้เร็วขึ้นตามความเห็นของแพทย์

…………………………………………………………………..

สำหรับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และตัดติ่งเนื้อออกไป  เป็นการรักษาอย่างหนึ่ง ระยะถัดมาที่ไม่สามารถตัดออกได้ทางกล้อง คือการผ่าตัด ร่วมกับการใช้รังสีรักษา หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ในระยะที่มีการแพร่กระจายนอกจากการใช้ยาเคมีบำบัด ยังมีการใช้ยากลุ่มใหม่ คือยารักษามุ่งเป้าระดับโมเลกุลอีกด้วย โดยในการรักษา เพื่อให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ต้องอาศัยการร่วมมือของทีมแพทย์สหสาขา ทั้งอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ศัลยแพทย์ และแพทย์รังสีรักษา จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งทั้ง 2 ชนิดนี้พบได้บ่อย ไม่ใช่โรคที่ไกลตัว และหากมีการคัดกรองโรคตั้งแต่แรกเริ่ม ก็มีโอกาสรักษาหายขาด หรือเพิ่มโอกาสการมีอายุที่ยืนยาว ดังนั้น หากพบว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวมีความเสี่ยง ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ