Blue Light อันตรายจากแสงสีฟ้าบนมือถือ ที่คุณมองข้ามไป

Happy smiling couple in bed wtih tablet and phone

 

อันตรายจากแสงสีฟ้า ทราบกันดีว่า ตอนนี้โลกและเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้เราต้องปรับตัว ใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือรับชมได้รวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหนก็จะเห็นผู้คนก้มหน้าเล่นมือถือสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตต่างๆ ไม่ว่าจะตอนนั่งรถ กินข้าว กำลังเดิน ก่อนนอน หรือแม้กระทั่งตอนเข้าห้องน้ำ จนทำให้เราลืมให้ความสำคัญกับ ดวงตาซึ่งอย่างที่รู้ว่า เราหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าได้ยากมาก ดังนั้นเราต้องมาทำความรู้จักถึงอันตราย อาการและวิธีการป้องกัน แสงสีฟ้าบนมือ เบื้องต้นเสียก่อน

แสงสีฟ้า คือ คลื่นแสงพลังงานสูง ที่มีความยาวคลื่น 400 – 500 นาโนเมตร โดยแสงสีฟ้าจะพบมากในมือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่ใช้กันตลอดเวลา มากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตาของเรา

 การป้องกันรังสียูวีย่อมดีกว่าการรักษา

ในเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็มีการป้องกันแสงสีฟ้า ตัวอย่างเช่น คนไข้ที่ผ่าตัดสลายต้อกระจก สามารถเลือกเลนส์แก้วตาเทียมชนิดที่กรองแสงสีฟ้า มาใส่แทนได้ หรือหากเราต้องใช้สายตากับหน้าจอมือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตทั้งวันเราควรหาวิธีป้องกัน และดูแลรักษาดวงตา เช่น แว่นกรองแสง หรืออย่างตอนนี้ มีการติดฟิล์มกันรอยที่สามารถตัดแสงสีฟ้า ก็สามารถช่วยป้องกันอันตราย และ ถนอมสายตาให้อยู่กับเราไปนานๆได้แล้ว เพราะโรคนี้เป็นความเสี่ยงที่ทุกคนอาจพบเจอได้

 อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม

คือ จะมีอาการมองภาพตรงกลางไม่ชัด เกิดการมองภาพบิดเบี้ยวไป เหมือนมีจุดดำบังตรงกลางภาพ และโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ทำไมแสงสีฟ้าและมีกำลังแรงจึงมีอันตราย?

การใช้มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดผลกระทบกับเราเช่น ปวดตา ตาแห้ง พร่ามัว น้ำตาไหลจากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า แสงสีฟ้า (Blue Light) จะทำให้เซลล์ตายได้ เนื่องจากแสงสีฟ้ามีพลังงานมากพอที่จะไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระภายในลูกตา แล้วสารอนุมูลอิสระจะทำให้เซลล์ จอประสาทตาตาย

ขอบคุณที่มา mthai.com

เรื่องน่าสนใจ