รู้ทันปัญหาเรื่องตับ ภาวะแบบไหนที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะเมื่อพูดถึงตับ หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าตับนั้น เป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายคนเรา คือมีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม อยู่ในท้องส่วนบน ทางด้านขวา โดยมีหน้าที่สําคัญ 2 อย่างคือ เป็นแบตเตอรี่ของร่างกาย เพื่อสะสมพลังงาน แล้วส่งพลังงานเหล่านั้นไปเลี้ยงอวัยวะทั่วทั้งร่างกาย และเป็นโรงงานกําจัดขยะ โดยจะคอยกําจัดสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย

 

รู้ทันปัญหาเรื่องตับ
ภาพจาก thestatesman.com

 

รู้ทันปัญหาเรื่องตับ ภาวะแบบไหนที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

เพราะฉะนั้น ถ้าตับพัง ร่างกายก็จะไม่มีพลังงาน จะส่งผลให้เกิดอาการเพลีย หมดแรง หมดสติ และยังจะทําให้ร่างกายไม่สามารถกําจัดขยะของเสียออกไปได้ หากของเสียคั่ง ก็จะส่งผลทําให้มีอาการซึม สับสน คันตามร่างกาย บวม และอาเจียน เป็นเลือด เป็นต้น

สาเหตุหลักของการเกิดปัญหาโรคตับ
คือ เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีหลายชนิด ไวรัสตับอักเสบเอและอี ติดต่อผ่านทางอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ส่วนเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ติดต่อได้ทาง การสัมผัสกับเลือดของผู้ที่เป็นพาหะ เช่น การถ่ายเลือด การใช้ของมีคมร่วมกัน การติดจากมารดาสู่เด็กทารกขณะคลอด ซึ่งในบ้านเรา ถือว่ามีจํานวนผู้ป่วยโรคตับเพิ่มขึ้นสูงอยู่เรื่อยๆ คือในคนไทยทุกๆ 12 – 15 คน ต้องมี 1 คน
ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีหรือซีแอบซ่อนอยู่ ขึ้นกับอยู่พื้นที่ไหนของประเทศ ซึ่งมีความชุก ของโรคแตกต่างกัน

 

รู้ทันปัญหาเรื่องตับ
ภาพจาก commons.wikimedia.org

 

โรคตับ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ตัวอย่างโรคที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ คือ มะเร็งตับ, ตับแข็ง, ตับอักเสบเรื้อรัง ตับอักเสบเฉียบพลัน, ก้อนเนื้องอกในตับ และถุงน้ำในตับ ซึ่งโรคตับที่พบได้บ่อยในคนไทย ก็คือโรคตับอักเสบเรื้อรัง โดยที่เจ้าตัวมักไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้อยู่ เนื่องจากไม่มีอาการที่แสดงออกมา เว้นแต่มีภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลืองเข้มผิดปกติ หรืออาจจะมีอาการเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน แต่โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ขึ้นไป จะไม่มีอาการอะไรที่แสดงเลย ถ้าไม่ไปตรวจ ก็จะไม่รู้ตัวว่าเป็น

อาการที่ถือว่าเป็นสัญญาณเตือน
ว่ากําลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับ

  • ปวดแน่นที่บริเวณใต้ชายโครงขวา หรือปวดแน่นท้องคล้ายโรคกระเพาะอาหาร นอนไม่หลับ หรือง่วงหลับ เวลากลางวัน
  • รู้สึกเพลีย ไม่มีแรง
  • รู้สึกเบื่ออาหาร ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ตาเหลือง ผิวตัว ผิวหน้าเหลือง

 

 

  • ปัสสาวะเหลืองเข้มผิดปกติ
  • เท้าบวม ชาบวม ท้องโต (มีน้ำในท้อง)
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ถ่ายอุจจาระดำ
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง หลงลืม

ดังนั้น ใครก็ตามเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีอาการตามที่กล่าวมา ต้องบอกเลยว่าอย่ามองข้าม และอย่าชะล่าใจ เพราะอาการเหล่านี้ หากคุณปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบตรวจ หรือทําการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ลดน้อยถอยลงได้

 

ภาพจาก Strong Medicine

 

สําหรับการตรวจวินิจฉัยโรคตับ สามารถทําได้หลายวิธี เช่น การตรวจเลือด, ตรวจค่าการทํางานของตับ, ซักประวัติ, ตรวจร่างกายเพื่อดูในเบื้องต้นว่ามีปัญหา เรื่องตับหรือไม่ ยิ่งใครที่ตอนเด็กๆ มีโรคดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือใครที่มีญาติพี่น้องเป็นมะเร็งตับ ตับแข็ง หรือมีพาหะไวรัสตับอักเสบบี คนกลุ่มนี้ควรที่จะได้รับการตรวจอย่างละเอียด ว่ามีโรคตับซ่อนอยู่หรือไม่

………………………………………………………….

แต่วิธีการตรวจอีกหนึ่งวิธีที่โรงพยาบาลบางแห่งใช้กัน คือเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดพังผืดและวัดปริมาณไขมันได้ ซึ่งวิธีการตรวจก็ทําได้ง่ายๆ ไม่เจ็บตัว เพียงแค่นําเครื่องตรวจไปวางไว้เหนือบริเวณตับ ประมาณ 5 นาที ก็จะสามารถบอกได้แล้วว่า ตับมีพังผืดหรือไม่ มีไขมันแทรกอยู่ในตับมากน้อยอย่างไร และถ้าหากตรวจพบว่าเป็นโรคตับ แน่นอนว่า ปัจจุบันก็มีตัวยาที่ดี และสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยเช่นกัน

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

 

เรื่องน่าสนใจ